
แค่ผื่นคันเล็กน้อย กับการเกาซ้ำๆ อาจทำให้ผิวช้ำและลุกลามสู่บริเวณอื่นของผิวได้ ในปัจจุบันโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง Atopic Dermatitis มีจำนวนผู้ป่วยมากกว่า 230 ล้านคนทั่วโลก พบได้ในทุกช่วงอายุ สำหรับประเทศไทยพบมากที่สุดในเด็กทารกจนถึง 3 ขวบปีแรก และเด็กในวัยอายุ 6-12 ปี ป่วยเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง ร้อยละ 16.51 ส่วนอายุ 13-17 ปี จะลดน้อยลงเหลืออยู่ที่ร้อยละ 12.79

โรคภูมิแพ้อิมมูโนวิทยา : องค์การอนามัยโลก (WHO) ได้ประมาณการว่ามีผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ผิวหนังมากกว่า 230 ล้านคนทั่วโลก แต่สิ่งที่น่ากังวลคือ โรคนี้กลับถูกมองข้าม โดยทั่วไปมักมองว่าเป็นแค่ความผิดปกติของผิวหนังภายนอก แสดงให้เห็นว่าคนส่วนใหญ่ยังขาดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นมากกว่าอาการคันที่ผิวหนัง
โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เป็นมากกว่าอาการคันที่ผิวหนัง แบ่งชั้นของความรุนแรงของโรคเป็น 3 ส่วนด้วยกัน คือ
- รุนแรงน้อย
- รุนแรงปานกลาง
- รุนแรงมาก
ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมยังเป็นกระตุ้นให้เกิดความรุนแรงของโรคได้มากขึ้น และยังส่งผลต่อร่างกาย และสภาพจิตใจของผู้ป่วยอีกด้วย ทำให้การใช้ชีวิตลำบากมากขึ้น
อาการผื่นแบบไหนที่มีความเสี่ยงต่อโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง
- ผิวหนังแห้ง แดง คัน โดยอาการคันจะเด่น
- ผู้ป่วยโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังจะมีอาการคันยุบๆ ยิบๆ จนไม่สามารถนั่งอยู่นิ่งๆ ได้
- สามารถเกิดอาการคันขึ้นได้บริเวณผิวหน้า แขน ขา ข้อพับ ซอกคอ มือ เท้า รอบใบหู หรือศีรษะ
- ในรายที่มีอาการรุนแรงก็จะมีผื่นขึ้นได้ทั้งตัว หรือมีน้ำเหลืองเยิ้มตามผิวหนัง
- ผู้ป่วยบางรายอาจมีโรคภูมิแพ้ทางเดินหายใจร่วมด้วย
วิธีรักษาโรคผื่นผิวหนัง
แนวทางการรักษาผิวหนังที่อักเสบให้กลับมาเป็นผิวหนังที่ปกติ และป้องกันการกำเริบซ้ำของผื่น โดยแพทย์จะใช้วิธีบรรเทาโรคตามอาการที่เกิดขึ้นใช้ครีมมอยซ์เจอไรเซอร์เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นสูง มีสารทดแทนสารสำคัญใต้ผิว เช่น เซรามายด์ ถ้ามียิ่งมากจะยิ่งดีต่อผิว และลดอาการคันด้วยความเย็น พยายามหลีกเลี่ยงสเตียรอยด์ หรือถ้าจำเป็นต้องใช้ต้องทำตามคำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรหากมีการใช้ติดต่อกันเป็นเวลานาน ย่อมส่งผลข้างเคียง อาจกระทบต่อภาวะการเจริญเติบโตของเด็ก
นอกจากนี้ ยังมีวิธีใช้ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มโลชั่นที่ถูกคิดค้นมาเพื่อโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนังโดยเฉพาะ เนื่องจากในทวีปเอเซียมีอาการร้อนชื้น จึงส่งผลต่อกระตุ้นให้เกิดปัญหาผิวได้มากยิ่งขึ้น ซึ่งสิ่งสำคัญคือวิธีนี้สามารถยังช่วยลดการใช้สเตียรอยด์รวมถึงลดการใช้ยากดภูมิคุ้มกันในผู้ป่วยกลุ่มหนึ่งที่ควบคุมโรคไม่ได้ โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถกลับมามีอาการที่ดีขึ้นและกลับมาใช้ชีวิตได้ปกติหากได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
– Latest Updates –
- ผิวแห้งแตกในผู้สูงวัยและผู้หญิงตั้งครรภ์
- วิธีป้องกันเชื้อลงปอด และสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อฟื้นฟูปอด
- “ปวดประจำเดือน” ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ
- อาการลองโควิด (Long Covid) หรืออาการที่หลงเหลือเมื่อหายจากโควิด-19
- โอไมครอน หรือ โอมิครอน มีอาการอย่างไร น่ากลัวแค่ไหนกัน ?
- ฉีดวัคซีนแล้ว คุณจะติดโควิด-19 ได้อีกหรือไม่ ?
- “ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง” โรคใกล้ตัวที่อาจลุกลามสู่โรคผิวหนังที่เรื้อรังได้
- ยาละลายเสมหะ (N-acetylcysteine) หรือ NAC Long สามารถป้องกันปอดอักเสบจากโควิดได้จริงหรือ ?