Skip to content
Home » ข่าวสาร » อาการลองโควิด (Long Covid) หรืออาการที่หลงเหลือเมื่อหายจากโควิด-19

อาการลองโควิด (Long Covid) หรืออาการที่หลงเหลือเมื่อหายจากโควิด-19

  • by

อาการลองโควิด (Long COVID) คืออะไร?

             ผลกระทบทั้งระยะสั้นและระยะยาว ที่เกิดขึ้นจากการติดเชื้อไวรัสโควิด 19 ในทุกสายพันธุ์ เมื่อมีการรักษาหายแล้ว ในคนไข้บางกลุ่มยังรู้สึกว่ายังมีอาการตกค้างอยู่ เพราะว่าระหว่างการติดเชื้อ ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันเพื่อไปจับกับเซลล์โปรตีนของบางอวัยวะ ที่สามารถส่งผลทำให้เกิดการอักเสบในร่างกายได้

เช่น อาการปอดบวม เชื้อลงปอด หรือ เนื้อปอดถูกทำลาย โดยระดับความรุนแรงจะขึ้นอยู่กับความรวดเร็วในรักษา และการกำจัดเชื้อโควิดในร่างกาย โดยพบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ส่งผลให้ปอดทำงานหนักปอดไม่แข็งแรงเหมือนเดิม จากที่เคยมีตวามยืดหยุ่น แต่จากผลข้างเคียงนี้อาจทำให้เกิดรอยโรคหรือพังผืดต่างๆ ในตัวปอดได้

Serious doctor showing lungs x-ray to coworker and discussing possible case of coronavirus or pneumonia

สาเหตุของโควิดระยะยาว หรืออาการ Long Covid

“โควิดระยะยาว (Long COVID)” โดยกระทรวงสาธารณสุขเปิดเผยว่า สามารถพบได้ถึง 30-50% สาเหตุหลักมาจาก ความเครียดสะสมหรือเกิดจากผลข้างเคียงจากการใช้ยาในการรักษา เช่น ยาในกลุ่มสเตียรอยด์ โรคแฝง หรือบางรายอาจติดเชื้อโควิดซ้ำแต่คนละสายพันธุ์

การทำให้ร่างกายมีภูมิกันที่ดีขึ้นแข็งแรงขึ้น เป็นส่วนหนึ่งที่จะเป็นการทำให้ปอดฟื้นตัว จากการติดเชื้อไวรัสต่างๆ ได้ ในช่วงที่ผ่านมามีงานวิจัยเกี่ยวกับยา ที่มีฤทธิ์ทางอ้อมในการช่วยการฟื้นตัวของปอดและตับ เสมือนเป็นการ ดีท๊อกซ์สารพิษที่ตกค้างในร่างกาย และอวัยวะสำคัญๆ ในการติดเชื้อจนส่งผลข้างเคียงในระยะยาวกับร่างกายได้
N-Acetylcysteine หรือ N.A.C (เอ็น.เอ.ซี ) คือยาที่ถูกนำมาวิจัยในหลากหลายเรื่องมาก ทำให้เห็นประสิทธิ์ภาพในการออกฤทธิ์ทั้งทางตรงและทางอ้อม ซึ่งหนึ่งในประสิทธิภาพของ N-Acetylcysteine คือช่วยกำจัดสารพิษ และต้านสารอนุมูลอิสระ  (reactive oxygen species: ROS และ reactive nitrogen species: RNS)

ในงานวิจัยได้ใช้ N-Acetylcysteine หรือ N.A.C (เอ็น.เอ.ซี ) สูตรต้นแบบ (Original) โดยมีชื่อทางการค้าว่า ฟลูมูซิล (Fluimucil)

N-Acetylcysteine หรือ N.A.C (เอ็น.เอ.ซี ) เป็นสารตั้งต้นของกลูต้าไธโอน ซึ่งช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระภายในร่างกาย โดยเมื่อรับประทาน NAC เข้าไปในร่างกาย จะให้ Cysteine ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของกลูต้าไธโอน

ปัจจุบันมีการศึกษากันมากขึ้นว่า การที่ร่างกายขาด glutathione  ทำให้มีปริมาณอนุมูลอิสระ ภายในร่างกายมากขึ้น อาจเกี่ยวข้องกับการเกิดโรคพังผืดในปอดโดยไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic pulmonary fibrosis) และอาจส่งผลต่ออาการข้างเคียงอื่นๆ ตามมา

พิษที่เกิดจากการรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด
ภาวะไตวายอันเนื่องมาจากการฉีดสารทึบรังสี (contrast-induced nephropathy: CIN)
โรคไวรัสเอดส์
เบาหวาน
หัวใจ
พิษจากโลหะหนัก

N-Acetylcysteine หรือ N.A.C (เอ็น.เอ.ซี ) เป็นชื่อสามัญทางยา โดยในประเทศไทย มีหลากหลายยี่ห้อ หรือที่เรารู้จักกันในชื่อยี่ห้อหรือแบรนด์ต่างๆ เช่น ฟลูมูซิล (Fluimucil), แนคลอง (Nac Long ) , เฟลมเม็กซ์ (flemex) , มิวเคลียร์ (Muclear) เป็นต้น ซึ่งผู้บริโภคสามารถเลือกใช้ได้ความเหมาะ ควรศึกษาข้อมูลของตัวยา ส่วนผสม ที่มาของส่วนผสมหลัก เทคโนโลยีการผลิต รวมถึงบรรจุภัณฑ์ เนื่องจากยาในกลุ่ม N-Acetylcysteine หรือ N.A.C (เอ็น.เอ.ซี ) ค่อนข้างไวต่ออากาศ เมื่อโดนอากาศนานๆ จะเกิดปฎิกริยา Oxidation ได้ ทำให้การฤทธิ์และประสิทธิภาพของยาลดลง ทางที่ดีควรปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกร ก่อนรับประทาน

อาการที่พบบ่อยของผู้ป่วย ลองโควิด (Long Covid) หรือ อาการโพสต์โควิด (Post-Covid Condition)

1.อ่อนเพลีย
2.เหนื่อยง่าย อ่อนแรง
3.หายใจลำบาก หายใจติดขัด หายใจไม่อิ่ม
4.ปวดศีรษะ
5.สมาธิในการจดจ่อสิ่งต่างๆ ลดลง
6.ความจำเริ่มผิดปกติ
7.มีอาการไอ เจ็บ หรือแน่นหน้าอก
8.ปวดกล้ามเนื้อ ปวดข้อต่อ
9.ท้องร่วง ท้องเสีย
10.จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นรับรสไม่ได้
11.มีภาวะทางอารมณ์แปรปวน ซึมเศร้า เครียด วิตกกังวล

ภาวะแทรกซ้อนที่พบได้ในผู้ป่วยโควิด19

– ปอดอักเสบและเกิดพังพืดในเนื้อปอด

– หลอดเลือดหัวใจอุดตัน กล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ

– ตับอักเสบ

– การทำงานของไตบกพร่อง

– ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน

– การติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราแทรกซ้อน

– ความผิดปกติของระบบประสาท

– กล้ามเนื้ออ่อนแรง จากการนอนโรงพยาบาลเป็นเวลานาน

– ภาวะซึมเศร้า โรคเครียด หลังผ่านเหตุการณ์ร้ายแรง โรคนอนไม่หลับ

จากอาการทั้งหมดที่กล่าวมา ในช่วงระยะ 1-2 เดือนแรก จะมีอาการอ่อนเพลีย หอบเหนื่อยได้ง่าย อาจพบผังผืดบริเวณปอด ภาวะลิ่มเลือดอุดตัน ระบบหัวใจและหลอดเลือดมีความผิดปกติ มีความเสี่ยงในการติดเชื้อแบคทีเรียหรือเชื้อราแทรกซ้อน เกิดการอักเสบของอวัยะภายใน

กลุ่มเสี่ยงที่อาจจะพบอาการลองโควิด (Long Covid)ผู้สูงอายุ

– ผู้ทีมีภาวะอ้วน
– ผู้ที่มีโรคประจำตัว
– ผู้ที่มีระบบภูมิคุ้มกันต่ำ
– ผู้มีในขณะติดเชื้อโควิด-19 มีอาการรุนแรง กลุ่มนี้จะมีความเสี่ยงในการเกิด Long COVID ได้มากกว่ากลุ่มที่ติดเชื้อและไม่มีอาการ

แต่ในกลุ่มผู้ป่วยที่มีอาการไม่หนักหรือผู้ป่วยที่ติดเชื้อแบบไม่แสดงอาการ ก็สามารถมีโอกาสที่จะเกิดอาการ Long COVID ได้เช่นเดียวกัน แต่จะไม่พบในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันที่ได้จากการรับวัคซีน อาการของลองโควิดยังไม่มีสาเหตุที่แน่ชัด เราจึงต้องหมั่นตรวจเช็คร่างกายอยู่เสมอ ฟื้นฟูร่างกายอย่างถูกวิธี หากมีอาการที่ผิดปกติ ควรรีบปรึกษาแพทย์ อย่างปล่อยให้เรื้อรัง อาจนำไปสู่ความรุนแรงของโรคได้

อ้างอิง : 
ประโยชน์ของ N-Acetylcysteine (NAC) ที่คุณยังไม่รู้ (ตอนที่ 1)  รศ. นพ. ปารยะ อาศนะเสน
ภาควิชาโสต นาสิก ลาริงซ์วิทยา   Faculty of Medicine Siriraj Hospital  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

– Latest Updates –

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
error: Content is protected !!