หลายคนยังสงสัยว่า ถ้าเราฉีดวัคซีนแล้วสามารถที่จะติดเชื้อโควิด-19 หรือมีโอกาสที่เชื้อจะลงปอดอีกไหม แล้วต้องป้องกันอย่างไร ซึ่งโดยปกติในการป้องกันพื้นฐาน แพทย์ต่างก็เตือนว่าในการใช้ชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะฉีดวัคซีนแล้วหรือไม่ก็ตาม สิ่งที่ควรไม่ควรละเลยคือ

สิ่งที่ไม่ควรละเลยในการใช้ชีวิตประจำวัน
สวมหน้ากาก
ล้างมือบ่อย ๆ
เว้นระยะห่างทางสังคม
หลีกเลี่ยงสถานที่แออัด
หากไอ มีเสมหะที่เหนียวข้น ให้ทานยาในกลุ่ม NAC เช่นยี่ห้อ Fluimucil , Nac Long เพื่อบรรเทาอาการ

จากในสถานการณการณ์ปัจจุบันพบว่า ผู้ที่ได้รับการฉีดวัคซีนโควิด 19 ไปแล้ว ประสิทธิภาพของวัคซีนสามารถลดความรุนแรงจากการติดเชื้อโควิดได้ และลดความเสี่ยงจากการเสียชีวิตได้มาก ลดปอดอักเสบ แต่ก็ยังสามารถแพร่เชื้อไปสู่ผู้อื่นได้อยู่ เนื่องจากยังไม่มีงานวิจัยไหนที่ยืนยันได้ว่า วัคซีนที่ถูกผลิตขึ้นจากบริษัทต่างๆ สามารถที่จะต้านเชื้อโควิด-19 ได้ 100%

เพียงแต่การวิจัยการผลิตในห้องปฎิบัติการ มีผลการป้องกันได้ตั้งแต่ 50-97% แล้วแต่ประเภทและยี่ห้อ ที่ใช้เทคโนโลยีการผลิตที่แตกต่างกัน
ปัจจัยร่วมอื่นๆ ที่ส่งผลในการลดประสิทธิภาพการป้องกันเชื้อ
การกลายพันธ์ของเชื้อไวรัส
ภูมิคุ้มกันในแต่ละคน
พฤติกรรมการดูแลตัวเองขั้นพื้นฐาน


ความหวังใหม่ที่ใช้สู้โควิดและการลดปอดอักเสบ
ในปัจจุบันได้มีการคิดค้นยาต้านไวรัส ที่มีชื่อว่า โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) เป็นผลงานการผลิตร่วมกันระหว่าง บริษัท เมอร์ค (Merck) จากเยอรมนี กับ บริษัท ริดจ์แบ็ค เทอราพิวทิค (Ridge Biotherapeuthics) จากสหรัฐอเมริกา

โดยในการทดลองระยะที่ 3 กับกลุ่มผู้ป่วย 775 คน ซึ่งมีปัญหาสุขภาพด้านอื่นๆ รวมอยู่ด้วย เช่น โรคหัวใจ โรคเบาหวาน หรือแม้กระทั้งโรคอ้วน โดยมีการใช้ยา โมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) กับผู้ป่วยที่แสดงอาการเล็กน้อยถึงปานกลาง ในระยะเวลการทาน 5 วัน มีผลลัพธ์การรักษาที่น่่าพอใจ
ลดการเสียชีวิตของผู้ที่ติดเชื้อโควิด 19 ได้ถึง 50%
ผู้ป่วยที่รักษาด้วยยาโมลนูพิราเวียร์ ไม่มีข้อมูลแสดงว่ามีการเสียชีวิตการจากการรักษา เมื่อเทียบกับกลุ่มผู้ป่วยที่ได้รับยาหลอก

ยาโมลนูพิราเวียร์ (Molnupiravir) เป็นยาชนิดเม็ดรับประทานที่ออกฤทธิ์ต้านไวรัสโควิด-19 ได้หลายสายพันธุ์
ไวรัสซาร์ส
ไวรัสเมอร์ส
ไวรัสโคโรนาที่ก่อโรคโควิด 19
บทสรุปเรื่องราวของยาโมลนูพิราเวียร์ และยาฟาวิพิราเวียร์
- ยาโมลนูพิราเวียร์ อาจจะเป็นความหวังใหม่ในการที่จะมาแทน ยาฟาวิพิราเวียร์ ยาที่ถูกคิดค้นจากประเทศ ญี่ปุ่น ซึ่งในหลายประเทศยังไม่รับรองให้เป็นยาที่ใช้ในการรักษาโรคโควิด-19 เนื่องจากมีผลการรักษาที่น้อยมากและนอกจากนั้น ผู้ป่วยจำนวนหนึ่งที่ได้รับยา ยังมีผลข้างเคียงเกิดขึ้นในรูปแบบที่แตกต่างกัน
เจย์ โกรเบลอร์ หัวหน้าฝ่ายโรคติดเชื้อและวัคซีนของบริษัท ระบุว่า ยาเม็ดนี้แตกต่างจากวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทั่วไป ตรงที่ไม่ได้กำหนดเป้าหมายที่โปรตีนหนามของไวรัส ซึ่งเป็นตัวกำหนดสายพันธุ์ของไวรัส จึงมีแนวโน้มว่า ยาโมลนูพิราเวียร์ จะสามารถยับยั้งโควิด-19 ได้ แม้ว่าาจะเกิดการกลายพันธุ์ต่อไป
นอกจากยาโมลนูพิราเวียร์ ของ Merck แล้ว ยังมียาต้านโควิด-19 ชนิดเม็ด จากบริษัท Pfizer ของสหรัฐฯ และ Roche Holding AG บริษัทเวชภัณฑ์สัญชาติสวิส ซึ่งกำลังอยุ่ระหว่างการทดลองระยะที่ 3 เช่นเดียวกัน คาดว่าจะยื่นขออนุมัติได้เร็ว ๆ นี้

ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) หรือ ยารักษาโควิดตัวที่ 2
และล่าสุดยารักษาโควิดตัวที่ 2 ของทางบริษัทไฟเซอร์ ชื่อว่า ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) มีประสิทธิภาพในการรักษาโควิด ได้เป็นอย่างที่น่าพอใจและยังมีผลข้างเคียงน้อยอีกด้วย
ยาแพกซ์โลวิด (Paxlovid) เริ่มการคิดค้นตั้งแต่ปี 2563 ในการใช้รักษาโรคซาร์ส (SARS) ที่เชื้อในตระกูลโคโรนาไวรัส ยาแพกซ์โลวิด จะเข้ายับยั้งเอนไซน์ เพื่อไม่ให้ไวรัสเพิ่มจำนวนและยังสามารถใช้ในการต้านเชื้อ HIV ได้อีกด้วย
สำหรับยาตัวใหม่นี้น่าจะเริ่มได้ใช้ในเดือน มกราคม 2565 แต่ต้องยื่นขออนุญาตกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) ภายในเดือนธันวาคม 2564 ส่วนในไทยก็คงต้องรอลุ้น อย. ว่าจะดำเนินการได้เร็วแค่ไหน
– Latest Updates –
- เสมหะแต่ละสี บอกถึงอาการของโรคร้ายต่างๆ ได้อย่างไร
- PLU-LIS refreshing mouth Spray
- ปัสสาวะแสบขัด อย่าปล่อยไว้ อาจอันตรายถึงชีวิต?
- ทำความรู้จักอาการคออักเสบ เจ็บคอจากไวรัส
- อาการ กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ ดูแลอย่างไร ?
- ข้อสงสัยและข้อควรระวังในการใช้ยา N-Acetylcysteine หรือ NAC
- ทำความรู้จักกับยา Original และยา Generic
- การบรรยาย เรื่อง “การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในหญิงตั้งครรภ์ ที่หลายคนมองข้าม”