Skip to content
Home » ข่าวสาร » “ปวดประจำเดือน” ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ

“ปวดประจำเดือน” ไม่ใช่เรื่องเล่น ๆ

  • by

เรื่องของ ประจำเดือน อาจดูเป็นเรื่องธรรมดาของคุณผู้หญิง แต่สำหรับคุณผู้หญิงบางคนช่วงที่มีประจำเดือนจะเป็นช่วงที่ทรมานที่สุดของเดือน ซึ่งนอกจากจะมีการเสียเลือดแล้ว ยังมีอาการปวดต่างๆ ตามมา โดยใครจะไปรู้เลยว่า นั้นอาจจะเป็นคือสาเหตุของโรคร้ายต่างๆ ที่ตามมา

Caucasian woman having painful period cramps

สาเหตุของการปวดประจำเดือน

ในทุกๆ 28 วัน หากไข่ของคุณผู้หญิงไม่มีอสุจิมาผสม เยื่อบุโพรงมดลูกจะหลุดลอกออกมาเป็นประจำเดือน อาการปวดประจำเดือนเกิดจากสารที่ออกฤทธิ์คล้ายฮอร์โมน ชื่อว่า โพรสตาแกลนดิน (prostaglandin) ซึ่งก่อตัวขึ้นที่เยื่อบุโพรงมดลูกระหว่างมีประจำเดือน โพรสตาแกลนดินทำให้กล้ามเนื้อบีบตัวและหดเกร็งคล้ายกับอาการเจ็บปวดขณะคลอดบุตร นอกจากนี้ยังทำให้เกิดอาการคลื่นไส้ ท้องเสีย หากร่างกายหลั่งสารนี้ในปริมาณมากจะยิ่งเพิ่มความรุนแรงของอาการบีบรัด ทำให้รู้สึกปวดประจำเดือนยิ่งขึ้น

ข้อพึงระวังที่แสดงถึงความผิดปกติ ในช่วงมีประจำเดือน

  • รับประทานยาแล้วแต่ยังไม่หายปวด
  • อาการปวดประจำเดือนเป็นมากขึ้น
  • มีอายุมากกว่า 25 ปีและรู้สึกปวดประจำเดือนอย่างรุนแรงเป็นครั้งแรก
  • มีไข้พร้อมปวดประจำเดือน
  • เลือดประจำเดือนไหลออกมามากว่าปกติ โดยต้องเปลี่ยนผ้าอนามัยทุกชั่วโมง
  • รู้สึกปวดท้องน้อยถึงแม้ไม่มีประจำเดือนก็ตาม
  • มีอาการติดเชื้อ ตกขาว มีกลิ่น มีอาการคันบริเวณปากช่องคลอด เลือดประจำเดือนมีสีแปลกไปจากปกติ
  • มีบุตรยาก

ปวดประจำเดือนรุนแรงหรือเรื้อรังนานๆ เสี่ยงเป็นโรคอะไรได้บ้าง

  1. เนื้องอกมดลูก โดยเฉพาะเนื้องอกมดลูกชนิดใต้เยื่อบุโพรงมดลูก (Submucous myoma)

เนื้องอกชนิดนี้จะทำให้มดลูกบีบตัวมากขึ้น เพื่อขจัดสิ่งที่ขัดขวางการหดรัดตัวภายในโพรงมดลูก จึงเป็นสาเหตุให้มีอาการปวดประจำเดือนมากขึ้น เป็นชนิดที่ไม่ร้ายแรงของมดลูกที่พบได้บ่อย

2. เยื่อบุโพรงมดลูกเจริญผิดที่ (Endometriosis)

โรคหรือภาวะที่มีเยื่อบุโพรงมดลูกเกิดขึ้นที่อวัยวะอื่นหรือบริเวณอื่นที่ไม่ใช่ภายในโพรงมดลูก โดยเซลล์เยื่อบุโพรงมดลูกจะมีการตอบสนองต่อฮอร์โมนในร่างกายตามรอบประจำเดือนเหมือนเซลล์ที่อยู่ในโพรงมดลูกที่จะมีประจำเดือนออกมาทุกรอบเดือน โดยเฉพาะที่รังไข่ หรือเยื่อบุช่องท้องน้อย ก็จะทำให้มีเลือดคั่ง กลายเป็นถุงน้ำที่เรียกว่าถุงน้ำช็อกโกแลต (chocolate cyst) หรือ มีเลือดออกในช่องท้อง ก็จะมีอาการปวด ระคายเคืองในท้องน้อย ปวดท้องประจำเดือนมากขึ้น และเซลล์ดังกล่าวสามารถก่อให้เกิดพังผืดในช่องท้องได้

3.การมีพังผืดในช่องท้อง

พังผืดนี้อาจเกิดจากผลของการผ่าตัดคลอด หรือประวัติการผ่าตัดเข้าช่องท้องมาก่อน หรือการอักเสบในอุ้งเชิงกรานและช่องท้อง ก่อให้เกิดพังผืดที่มีการดึงรั้งมดลูก ขณะที่มดลูกบีบตัวในขณะมีประจำเดือน ก็ทำให้อาการปวดประจำเดือนเป็นมากขึ้น

4.ความผิดปกติของโครงสร้างทางกายภาพในอวัยวะสืบพันธุ์ (Obstructive malformation of the genital tract)

สาเหตุอื่นๆ ที่อาจทำให้มีอาการปวดประจำเดือนรุนแรงเรื้อรัง ได้แก่ ภาวะเนื้องอกรังไข่ Ovarian  neoplasm, ภาวะเยื่อบุช่องท้องอักเสบ (Peritonitis), เนื้องอกมดลูกชนิดต่างๆ, Adrenal Insufficency and Adrenal Crisis, การติดเชื้อในทางเดินปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะอักเสบ, ท้องนอกมดลูก,ลำไส้อักเสบเรื้อรัง (Inflammatory Bowel Disease, Irritable Bowel Syndrome), อุ้งเชิงกรานอักเสบ เป็นต้น

5. ปากมดลูกตีบ (Cervical stenosis)

เป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เลือดประจำเดือนไหลออกจากโพรงมดลูกได้ไม่สะดวก ทำให้มดลูกบีบตัวมากขึ้น ทำให้ปวดประจำเดือนมากขึ้นได้

วิธีการดูแลตัวเองในช่วงปวดประจำเดือน

การรักษาโดยไม่ใช้ยา (Non-medical therapeutic options)
  • การออกกำลังกาย
  • การฝังเข็ม และการกระตุ้นเส้นประสาท
  • การออกกำลังกายด้วยการเล่นโยคะ
  • ใช้การประคบร้อน

 การรักษาด้วยยา (Medical therapeutic options)

ยากลุ่มประเภทที่ไม่ใช่ฮอร์โมน

  • NSAIDs, COX-2 inhibitors, Transdermal glyceryl trinitrate
  • Acetaminophen

ยากลุ่ม NSAIDs ถูกนิยมนำมาใช้รักษาอาการปวดต่างๆ รวมถึงอาการปวดประจำเดือน เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการลดปวดที่ดี ในปัจจุบันจึงมียาในกลุ่ม NSAIDs จำนวนมากมาย ซึ่งยาแต่ละตัวมีความแตกต่างกันในเรื่องของประสิทธิภาพ และผลข้างเคียงยา จึงมีการคิดค้น และพัฒนายาใหม่ๆในกลุ่ม NSAIDs ออกมาอย่างต่อเนื่อง ตัวอย่างยาในกลุ่มนี้ เช่น
ยาไอบูโพรเฟน (Ibuprofen) เป็นยา NSAIDs ที่คิดค้นออกมาในยุคแรก และนิยมใช้มาอย่างยาวนาน มีความปลอดภัยสูง ในต่างประเทศจึงจัดให้ยา Ibuprofen เป็นยาสามัญประจำบ้าน คนไข้สามารถหาซื้อยาที่ร้านสะดวกซื้อได้ ไม่ต้องจ่ายยาโดยแพทย์ หรือเภสัชกร

ในปัจจุบันมีการพัฒนายา Ibuprofen ในรูปแบบใหม่ โดยทำให้ยา Ibuprofen อยู่ในรูปเกลือ จับกับกรดอะมิโนอาร์จีนีน (Arginine) ทำให้ยา Ibuprofen ถูกดูดซึมได้อย่างรวดเร็ว โดย Arginine จะพายาดูดซึมเข้าทางช่องทางพิเศษด้วยวิธี Active transport ทำให้ยา Ibuprofen Arginine ออกฤทธิ์ได้รวดเร็ว ประสิทธิภาพลดปวดดีขึ้น และ Arginine ยังมีฤทธิ์ปกป้องกระเพาะอาหาร ทำให้ลดผลข้างเคียงของยา Ibuprofen ต่อกระเพราะอาหาร
ในกรณีที่คนไข้ไม่ได้เป็นโรคกระเพาะอาหาร สามารถรับประทานยา Ibuprofen Arginine ตอนท้องว่างได้ ทำให้คนไข้สามารถรับประทานยาได้ทันทีเมื่อมีอาการปวด โดยไม่ต้องรอรับประทานยาหลังอาหาร เหมือนยา NSAIDs ตัวอื่นๆ

ยากลุ่มฮอร์โมน

  • Combined oral contraceptive (OC) เป็นยาที่จะกดการทำงานของรังไข่ ลดการเจริญของเยื่อบุโพรงมดลูก ลดปริมาณประจำเดือน และลดการหลั่งสาร prostaglandin และลดการบีบตัวของมดลูกด้วย
  • Progestin regimens ยับยั้งการตกไข่ ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อ เป็นยาในกลุ่ม ยาฉีดคุมกำเนิด Depot medroxyprogesterone acetate ทำให้ไม่มีประจำเดือน พบได้ 55-60 เปอร์เซ็นต์ หลังการใช้ที่ 12 เดือน
  • Levonorgestrel intrauterine system (LN-IUS) เป็นห่วงคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมน progestin ทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกฝ่อและไม่ทำงาน การเสียเลือดประจำเดือนลดลง 74-97 เปอร์เซ็นต์

ข้อแนะนำสำหรับผู้ที่ปวดประจำเดือน

อาการปวดประจำเดือนเป็นภาวะที่พบได้บ่อยและเกิดขึ้นได้ในสตรีวัยเจริญพันธุ์ทุกคน อาการมากบ้างน้อยบ้าง แต่ในกรณีที่มีอาการรุนแรงหรือเรื้อรังอาจเป็นสัญญาณเตือนของโรคต่างๆ ที่จำเป็นต้องได้รับการดูแลรักษาเฉพาะ ดังนั้น สตรีที่มีอาการผิดปกติ ควรเข้ารับคำปรึกษาจากแพทย์เฉพาะทางเพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยและรักษาอย่างเหมาะสมและทันท่วงที เพื่อให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป

อ้างอิง :
บทความ : ปวดท้องประจำเดือน อาจเป็นเรื่องใหญ่กว่าที่คุณคิด
โรงพยาบาล บำรุงราษฎร์ ศูนย์สูติ-นรีเวช ​ 8.00-20.00  (BKK Time)
Hot line tel. +66 63 189 3406
บทความ : ปวดประจำเดือนรุนแรงระวังเสี่ยงสารพัดโรค
ศูนย์สุขภาพหญิง รพ.พญาไท 1 โทร.  02-201-4600 ต่อ 3465, 3466 

– Latest Updates –

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
error: Content is protected !!