การเตรียมเพื่อรับมือเชื้อไวรัสทุกสายพันธุ์ ก่อนอื่นเรามารู้จักกลไกของโควิด-19
เชื้อโควิด-19 เป็นเชื้อของไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์นึงที่แตกตัวออกมา ดังนั้นอาการที่เกิดขึ้น เช่น อาการไข้ ไอ จาม มีเสมหะ รวมไปถึงการปวดตามตัว เป็นอาการที่เกิดขึ้น จากการมีเชื้อไวรัส แพร่กระจายอยู่ในร่างกาย โดยเฉพาะการแพร่กระจายในกระแสโลหิต จึงทำให้อาการแสดงออกมาคล้ายไข้หวัดใหญ่ และส่วนใหญ่อาการของโควิด-19 ลักษณะคือการหายใจไม่อิ่ม (Shortness of Breath)
ลำดับอาการของโควิด-19 (The Occurrence of other Symptoms is as Follows)
1. มีไข้ขึ้นสูง
2. มีอาการไอ มีเสมหะ
3. การปวดเมื่อยร่างกาย
4.คลื่นไส้อาเจียน ท้องเสีย
5.ประสาทสัมผัสเสีย จมูกไม่ได้กลิ่น ลิ้นรับรสไม่ได้
ถ้ามีอาการลำดับขั้นตอนตั้งแต่ข้อ 1-4 ไล่มา ควรรีบตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วย ชุดตรวจ ATK หรือเข้ารับการตรวจ RT-PCR (Polymerase chain reaction) ที่โรงพยาบาล ก่อนที่เชื้อจะลงปอด (อาการดังกล่าวพบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่)
RT-PCR และRapid Antigen Test แตกต่างกันอย่างไร
- สำหรับ Rapid Antigen Test เป็นการตรวจที่สะดวกและใช้ระยะเวลาน้อยกว่าในการวินิจฉัย เป็นการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ในระดับเบื้องต้น หากผลออกมาเป็นบวก (พบเชื้อโควิด-19) ต้องตรวจ RT-PCR เพื่อยืนยันอีกครั้ง
- ต่างกับการตรวจแบบ RT-PCR ที่เป็นการตรวจในระดับสูงสามารถยืนยันเชื้อได้แม้จะมีเชื้ออยู่ในตัวน้อยมากก็ตาม โดยไม่ต้องพึ่งการตรวจแบบอื่นอีก แต่จะใช้เวลาในการวินิจฉัยนานกว่าแบบ Rapid Antigen Test
ใครบ้างที่ควรตรวจโควิด-19 แบบ Rapid Antigen Test และ RT-PCR
- ผู้ที่มีประวัติเคยใกล้ชิดกับผู้ป่วยโควิด-19
- ผู้ที่ไม่มีอาการ หรือมีอาการเล็กน้อย แต่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง
- ผู้ที่มีอาการชัดเจน เช่น มีไข้ ไอ เจ็บคอ หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอกเฉียบพลัน เป็นต้น
ภายหลังการตรวจ Rapid Antigen Test หรือ RT-PCR หากพบว่าติดเชื้อแต่มีอาการน้อยหรือไม่มีอาการจะจัดเป็น Home isolation ถ้ามีอาการรุนแรงควรรักษาตามขั้นตอนต่อไป
อีกหนึ่งตัวช่วยที่จะดูว่าอาการเริ่มหนักขึ้นหรือไม่ คือ เครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
ข้อควรระวัง : ควรเลือกแบบที่มีคุณภาพ เพราะในปัจจุบันมีการทำออกมาจำหน่ายค่อนข้างมาก มีหลายเกรด ซึ่งความแม่นยำและความไวก็จะต่างกันออกไป
ผลกระทบที่เกิดจาก “เชื้อไวรัสลงปอด”
เชื้อไวรัส COVID-19 เป็นเชื้อไวรัสที่มีความรุนแรงสูง ในขณะนี้ การทำงานของเชื้อจะเข้าไปในร่างกายแล้วเกาะในอวัยวะต่าง ๆ ได้แก่ ปอด หัวใจ หลอดเลือด ลำไส้ และหลอดเลือด ที่ไปเลี้ยงไต
หลังจากนั้นเชื้อไวรัส COVID-19 จะแทรกซึมเข้าไปในเซลล์และทำการขยายเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในเซลล์ร่างกายผู้ป่วย เมื่อถึงตอนนั้นก็มีผลต่อเซลล์ แตกตัวออกมาเป็นไวรัสจำนวนมากแทรกซึมในอวัยวะข้างเคียงอื่น ๆ ต่อไป ซึ่งอวัยวะนั้น ๆ ได้รับความเสียหายก็จะไม่สามารถทำหน้าที่ได้อีกต่อไป
ในกรณีของปอด เมื่อปอดถูกทำลายไปมากย่อมไม่สามารถแลกเปลี่ยนออกซิเจนได้ตามปกติ ระดับออกซิเจนในเลือดของคนไข้ก็จะต่ำลง
กลุ่มเสี่ยงเมื่อ COVID-19 ลงปอด
- ผู้สูงอายุ
- ผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ
- ผู้ที่มีโรคอ้วน BMI มากกว่า 30
- ผู้ที่มีโรคแทรกซ้อน
วิธีป้องกันไม่ให้เชื้อลงปอด และวิธีการป้องกันความรุนแรงในการติดเชื้อไวรัส
ร่างกายของมนุษย์ค่อนข้างฉลาด เรียนรู้ในการป้องกันตัวเองจากสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย ก็คือ “ระบบภูมิคุ้มกัน” (Immune System) นั้นเอง กลไกภายในร่างกายที่ทำหน้าที่ป้องกันและต่อต้านอันตรายจากสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ ที่สามารถก่อให้โรคภัยไข้เจ็บ เมื่อเข้าสู่ร่างกายของมนุษย์ โดยเฉพาะเชื้อโรคชนิดต่าง ๆ รวมไปถึงการทำหน้าที่ตรวจสอบและสร้างกลไกการตอบสนอง เพื่อกำจัดสิ่งแปลกปลอมเหล่านี้ ทำให้ระบบต่าง ๆ ภายในร่างกายสามารถกลับมาทำงานได้ตามปกติ
ระบบภูมิคุ้มกันสามารถจำแนกออกเป็น 2 ระบบ
ระบบภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาแต่กำเนิด (Innate immunity)
เป็นด่านแรกในการต่อสู้ และป้องกันเชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เป็นกลไกที่ไม่จำเพาะเจาะจงกับเชื้อโรคชนิดใดชนิดหนึ่ง แต่เป็นกลไกที่รวดเร็ว และป้องกันโรคได้หลายชนิด โดยสามารถจำแนกออกเป็น 2 กลุ่ม
– การป้องกันด่านที่ 1 คือ กลไกป้องกันกีดขวางไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกาย เช่น ผิวหนัง เยื่อบุทางเดินหายใจ เหงื่อ กรดในกระเพาะอาหาร เป็นต้น
– การป้องกันด่านที่ 2 คือ เซลล์เม็ดเลือดกลุ่ม phagocytes ที่ตอบสนองต่อเชื้อโรคที่ผ่านการป้องกันด่านที่ 1 บุกรุกเข้าสู่ร่างกายได้
ระบบภูมิคุ้มกันที่ได้รับมาภายหลัง (Acquired immunity)
กลไกที่เกิดขึ้นภายหลัง หลังจากเชื้อโรคบุกรุกเข้าสู่ร่างกาย แล้วระบบภูมิคุ้มกันทั้ง 2 ด่านแรกไม่สามารถจัดการได้ เป็นกลไกที่ตอบสนองต่อเชื้อโรคอย่างจำเพาะเจาะจงผ่านเซลล์เม็ดเลือดขาว T cells และ B cells
การรับมือโรคต่าง ๆ ด้วย “ภูมิคุ้มกันร่างกาย”
ระดับความแข็งแรงของภูมิคุ้มกัน หรือ ภูมิต้านทาน ในร่างกายคนเรา เปรียบเสมือนทหารที่เข้มแข็ง พร้อมต่อสู้ปกป้องเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ไม่ให้เกิดอาการต่าง ๆ ตั้งแต่ ป่วยเล็กๆ น้อยๆ ไปจนถึง การติดเชื้อไวรัสที่ระบาดมีความรุนแรงของโรคในขณะนี้ ดังนั้นเราควรบำรุง ดูแล ร่างกายให้แข็งแรง เพื่อให้พร้อมรับมือกับสิ่งแปลกปลอมที่จะมาทำร้ายเราได้
ภูมิต้านทานที่ต่ำลง จะทำให้โอกาสในการติดเชื้อเพิ่มสูงขึ้น และทำให้ความรุนแรงของโรคมากขึ้น
สร้างภูมิคุ้มกันให้ร่างกายง่ายๆ ด้วยของใกล้ๆ ตัว
กลุ่มประเภท : อาหารเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยเพิ่มปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวและที-เซลล์
1.ผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ อุดมไปด้วยวิตามินซี ไบโอฟลาโวนอยด์และสารพฤกษเคมี ช่วยต้านอนุมูลอิสระ
2.ผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น ส้ม มะนาวและเกรปฟรุต มีวิตามินซี ช่วยกระตุ้นให้ร่างกายสร้างเซลล์เม็ดเลือดขาวเพื่อต่อสู้กับเชื้อโรค
3.ปลา มีกรดไขมันโอเมก้า 3 และไขมันที่มีประโยชน์ ทำให้เซลล์เม็ดเลือดขาวทำงานได้ดีขึ้นและช่วยให้ภูมิคุ้มกันของร่างกายทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4.พริกหยวกสีแดง มีวิตามินซีเป็นสองเท่าของผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว ช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน
5.โยเกิร์ต เป็นแหล่งของวิตามินดีและมีจุลินทรีย์มีชีวิตชนิดดี ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
6.ชาเขียว เต็มไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระแคทิชิน และกรดอะมิโนที่มีชื่อว่า แอล-ธีอะนีน ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในการสร้างสารประกอบที่ช่วยต่อสู้กับเชื้อโรคให้กับที-เซลล์
7.ขิง เปรียบเสมือนยาปฏิชีวนะตามธรรมชาติและเป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้ทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ ช่วยลดอาการเจ็บคอภาวะอักเสบต่างๆ
8.ขมิ้นชัน สมุนไพรที่เชื่อกันมานานว่าช่วยต่อต้านการอักเสบ สารเคอร์คูมินที่อยู่ภายในขมิ้นชันช่วยเพิ่มปริมาณและกระตุ้นการทำงานของที-เซลล์
กลุ่มประเภท : การปรับพฤติกรรม เพื่อร่างกายสมดุล และสร้างภูมิคุ้มกัน
1.การนอนหลับให้เพียงพอ การนอนหลับที่ดีช่วยให้ร่างกายสร้างสารที่ชื่อว่า ไซโตไคน์ (Cytokines) ที่ช่วยรักษาการอักเสบ การติดเชื้อ และเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน
2.การลดความเครียด หากิจกรรมทำยามว่างที่ชอบหรือทำสมาธิ เนื่องจากฮอร์โมนความเครียดบางชนิดที่มาจากความเครียดสะสม จะกระตุ้นให้ร่างกายตอบสนองต่อเชื้อโรคต่างๆ ได้น้อยลง
3.การออกกำลังกาย เป็นการเพิ่มการหมุนเวียนของเลือดพร้อมทำให้เซลล์ร่างกายได้รับออกซิเจนมากขึ้น เม็ดเลือดขาวแข็งแรงและเพิ่มจำนวนได้ อีกทั้งทำให้สมองสร้างโกรทฮอร์โมนซึ่งเป็นตัวส่งเสริมการสร้างเม็ดเลือดขาวบางชนิด ที่ช่วยต่อต้านเชื้อไวรัสและสิ่งแปลกปลอมได้
กลุ่มประเภท : ยาและอาหารเสริม เพื่อการสร้างภูมิต้านทาน
1.วิตามินซี ขนาด 500-2,000 มิลลิกรัมต่อวัน เนื่องจากวิตามินซี ช่วยการทำงานของเม็ดเลือดขาวและช่วยกระบวนการทำลายเชื้อโรค
2.วิตามินดี ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมเข้าสู่ร่างกาย แต่ยังเป็นวิตามินที่มีบทบาทกระตุ้นเซลล์ภูมิคุ้มกันในร่างกาย
3.สังกะสี ดูแลสุขภาพผิวพรรณ ผม ขน เล็บ และระบบสืบพันธุ์แล้ว ยังมีส่วนกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวหลายชนิด
4.กรดไขมันโอเมก้า 3 ซึ่งปกติแล้วจะช่วยเสริมสร้างเซลล์ประสาทในสมอง จอประสาทตา เสริมสร้างการทำงานของเซลล์ต่างๆ ในร่างกาย ลดการอักเสบซ่อนเร้นที่เกิดจากความเครียด
5.กลูต้าไธโอน : เป็นสารต้านอนุมูลอิสระ ช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระในร่างกาย ช่วยกำจัดสารพิษในร่างกาย เช่น สารเคมี หรือยา มีส่วนช่วยป้องกันโรคเกี่ยวกับภาวะเสื่อมของสมอง โดยกลูต้าไธโอน จะมีอยู่ใน ยาละลายเสมหะ ในกลุ่มของ N-Acetyl Cysteine หรือ NAC (เอ็น เอ ซี ) เป็นยาอนุพันธ์ของกรดอะมิโนแอลซีสเทอีน (L-Cysteine) อยู่ในรูปแบบยา ชนิดต่าง ๆ อาทิ ยาเม็ด ยาเม็ดฟู่ หรือยาฉีด ในต่างประเทศจะมีเป็นรูปแบบของอาหารเสริมอีกด้วย
ในปัจจุบันมีงานวิจัยจากบริษัทผู้คิดค้นยา ในกลุ่มของ N-acetylcysteine หรือ NAC (เอ็น เอ ซี) ซึ่งมีงานวิจัยที่หลากหลายชิ้นมาก ที่ใช้กับผู้ป่วยจริง ทั้งไข้หวัดใหญ่ จนมาถึง โควิด-19 ผลการศึกษาแสดงให้เห็นว่า ผู้ป่วยที่ทาน N-acetylcysteine หรือ NAC a600 (เอ็น เอ ซี เอ 600) ผู้ป่วยฟื้นตัวไวกว่า ลดอาการปอดอักเสบ ลดความรุนแรงของการติดเชื้อโควิดได้ นอกจากนี้ยังช่วยให้ออกซิเจนในเลือดเพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยฟื้นตัวไวกว่า มีระดับออกซิเจนในเลือดเพิ่มขึ้น ลดความรุนแรงของการติดเชื้อโควิด ทำให้ลดความเสี่ยงที่เชื้อจะลงปอด และเป็นปอดอักเสบ และช่วยลดความเสี่ยงในเป็นลองโควิด (Long Covid) ในเวลาต่อมา
จากการศึกษาพบว่า N-acetylcysteine ช่วยให้เม็ดเลือดขาวทำงานได้ดีขึ้น ทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายแข็งแรง นอกจากนี้ยังมีงานวิจัยที่มีการใช้ N-acetylcysteine ในหญิงตั้งครรภ์ทุกไตรมาส พบว่าปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง รวมถึงมีงานวิจัยอีกหลายชิ้นที่ศึกษาเรื่องความปลอดภัยในการใช้ในระยะยาว พบว่าการใช้ N-acetylcysteine ในระยะยาวนั้นมีความปลอดภัยสูง จากงานวิจัยพบว่าการรับประทาน Acetylcysteine ติดต่อกันทุกวันเป็นเวลา 3 ปี นั้นปลอดภัย ไม่มีผลข้างเคียง
ในประเทศไทยจะอยู่ในรูปแบบของยาละลายเสมหะ acetylcysteine จำหน่ายทั้งตามร้านขายยาทั่วไป ซึ่งมีหลากหลายยี่ห้อ เช่น Fluimucil A600 , Naclong , Flemex-AC, Muclear
การตรวจสุขภาพที่เกี่ยวกับภูมิต้านทานในปัจจุบัน
– การตรวจความสมบูรณ์ของเม็ดเลือด เพื่อหาความผิดปกติของส่วนประกอบในเลือด ซึ่งได้แก่ เม็ดเลือดขาว เม็ดเลือดแดง เกล็ดเลือด เพื่อให้แพทย์ประเมินภาวะที่เกี่ยวกับภูมิคุ้มกันของร่างกาย
– การตรวจวัดระดับวิตามินดีในร่างกาย เนื่องจากวิตามินดีมีความเกี่ยวข้องกับการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน
อ้างอิง : บทความโดย คุณคัดคณัฐ ชื่นวงศ์อรุณ ngthai.com บทความโดย ผศ. นพ. อรรถภูมิ สู่ศุภอรรถ >>: bangkokhearthospital.com บทความ bumrungrad.com บทความโดย พญ. วรรณวิภา ทองบริสุทธิ์ >>: samitivejhospitals.com National Geographic – https://www.nationalgeographic.com
– Latest Updates –
- PLU-LIS refreshing mouth Spray
- ปัสสาวะแสบขัด อย่าปล่อยไว้ อาจอันตรายถึงชีวิต?
- ทำความรู้จักอาการคออักเสบ เจ็บคอจากไวรัส
- อาการ กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ ดูแลอย่างไร ?
- ข้อสงสัยและข้อควรระวังในการใช้ยา N-Acetylcysteine หรือ NAC
- ทำความรู้จักกับยา Original และยา Generic
- การบรรยาย เรื่อง “การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในหญิงตั้งครรภ์ ที่หลายคนมองข้าม”
- ทำความรู้จักกับโรคผิวหนังอักเสบในผู้สูงอายุ และวิธีรักษาผิวหนังอักเสบด้วยตัวเอง