Home » ข่าวสาร » “Nac Original คืออะไร เกิดขึ้นเมื่อไหร่?”

“Nac Original คืออะไร เกิดขึ้นเมื่อไหร่?”

ประเภทของยา NAC หรือ N-acetylcysteine ถูกแบ่งออกเป็นกี่ประเภท อะไรบ้าง ?

1. ยา NAC ต้นแบบ (NAC Original)

2. ยา NAC เลียนแบบ (NAC Generic)

1.ยา NAC ต้นแบบ (NAC Original)

คือ ยาที่ผู้ผลิตคิดค้นและวิจัยไปจนถึงการพัฒนาคุณภาพของยา ด้วยกรรมวิธีต่าง ๆ มากมายหลายขั้นตอน โดยการวิจัยแต่ละชิ้นต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมหาศาล และระยะเวลาในการวิจัยนาน 10-15 ปี

เริ่มจากการศึกษาวิจัย ผ่านกระบวนการทดลอง ศึกษาสารตั้งต้นเป็นหมื่น ๆ ตัวว่าตัวใดจะมีคุณสมบัติในการรักษาโรคนั้นๆได้ จากนั้นก็นำไปทดลองในสัตว์ และพัฒนาจนมาสู่การทดลองในมนุษย์ ซึ่งต้องแน่ใจว่าสารที่ใช้วิจัยในงานนั้นๆ มีฤทธิ์ในการรักษาโรคได้จริงและผลข้าง เคียงน้อยที่สุด 

เพื่อเป็นการจูงใจให้มีการคิดค้นยาใหม่ ปัจจุบัน ผู้ผลิตยาต้นแบบ จะได้รับสิทธิบัตรผูกขาดในการ จำหน่ายยาแต่เพียงผู้เดียว ในระยะเวลา ประมาณ 20 ปี และเมื่อสิทธิบัตรสิ้นสุดลง

ผู้ผลิตรายอื่นก็สามารถ ผลิตยา นั้นออกจำหน่ายได้ โดยจะเรียกยานั้นว่า

2.ยา NAC เลียนแบบ (NAC Generic)

โดยผลิตขึ้นภายใต้เครื่องหมายการค้าอื่นๆ สามารถนำสูตรหลักทางเคมี มาทำการศึกษาและวิจัยเอง และผลิตขึ้นมาเป็นอีกยี่ห้อ โดยอาจจะมีความแตกต่างกันของส่วนประกอบอื่นๆ ในสูตรยาและแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่นำเข้ามาจากต่างที่กัน คุณภาพ ประสิทธิภาพ และต้นทุนก็จะต่างกันไปด้วย

ในการใช้ยาสูตรก๊อปปี้ ทางผู้บริโภคก็ต้องมาสังเกตว่าทานแล้วมีผลข้างเคียงหรือเปล่า ประสิทธิภาพยาดีหรือไม่ ดังนั้นควรหาข้อมูล แหล่งที่มาของยา บริษัท โรงงานที่ผลิตมีมาตรฐานและน่าเชื่อถือ หรือปรึกษาเภสัช แพทย์ ก่อนการรับประทาน

สิ่งที่ต่างกันระหว่างยา NAC ต้นแบบ (NAC Original) และยา NAC เลียนแบบ (NAC Generic)

แหล่งที่มาของวัตถุดิบ
แหล่ง ผลิตยา
สารอื่นๆในตำรับที่ไม่ใช่ตัวยาสำคัญ
เทคโนโลยีและกรรมวิธีในการผลิต
การควบคุมคุณภาพ

ซึ่งบางครั้ง สิ่งที่แตกต่างกันเหล่านี้ ก็เป็นปัจจัยที่ทำให้การรักษาไม่ได้ผล แม้ว่าจะมีสารออกฤทธิ์เป็นสารชนิดเดียวกันก็ตาม

ในปี ค.ศ. 1965 บริษัท Zambon ได้จดสิทธิบัตร (Patent) โมเลกุลของ Acetylcysteine และได้มีการวิจัยออกมามากมายถึงฤทธิ์ของ Acetylcysteine ว่าช่วยละลายเสมหะได้

ยา Acetylcysteine จึงถือกำเนิดขึ้น เป็นยาตัวแรกที่ช่วยละลายเสมหะ และทำให้เกิดยากลุ่มใหม่ขึ้น คือ กลุ่มยา Mucolytics (ยาละลายเสมหะ) ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

แม้จะผ่านไปหลายปีบริษัท Zambon ผู้คิดค้นยาต้นแบบ (Original) N-acetylcysteine หรือที่เรียกสั่นๆ ว่า NAC ก็ยังไม่หยุดพัฒนา ยังคงมีงานวิจัยต่อเนื่องจนพบว่ายา Acetylcysteine ยังมีประโยชน์อื่นๆ ที่ซ่อนอยู่ มากกว่าแค่ฤทธิ์ละลายเสมหะ

หลังจากนั้น นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ก็ได้มีการนำ N-acetylcysteine มาต่อยอดคิดค้นหาประสิทธิภาพอื่นๆ เพื่อที่จะดูว่า N-acetylcysteine มีฤทธิ์ในการรักษาในเรื่องอะไรได้อีก

ฤทธิ์ในการรักษาเพิ่มเติมของ NAC หรือ N-acetylcysteine

1. ฤทธิ์ละลายเสมหะ การอักเสบของทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเกิดจากการติดเชื้อ (เช่น แบคทีเรีย, ไวรัส หรือจุลชีพอื่นๆ) หรือไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อ (เช่น การอักเสบจากภูมิแพ้ หรือการระคายเคืองเรื้อรัง) จะกระตุ้นเซลล์ที่สร้างเสมหะให้เพิ่มจำนวนมากขึ้น ทำให้มีการผลิตเสมหะเพิ่มมากขึ้น    

2.ฤทธิ์ละลายเสมหะที่หลากหลาย Acetylcysteine มีคุณสมบัติที่แตกต่างจากยาละลายเสมหะชนิดอื่น คือ สามารถออกฤทธิ์ได้โดยตรงต่อโครงสร้างของเสมหะ และมีผลลดการเกาะติดของแบคทีเรีย กับเยื่อบุทางเดินหายใจ  และมีฤทธิ์ต้านอนุมูลอิสระ (antioxidant action)

3.ฤทธิ์ขับเสมหะ Acetylcysteine เพิ่มการทำงานของขนกวัดของเยื่อบุทางเดินหายใจในการกำจัดเสมหะ และกระตุ้นการทำงานของกระเพาะอาหาร และปอด (gastro-pulmonary vagal reflex) ช่วยให้ขับเสมหะออกจากหลอดลม และปอดได้มากขึ้น

4.ฤทธิ์กำจัดสารพิษ ต้านอนุมูลอิสระ สารพิษและอนุมูลอิสระ (reactive oxygen species: ROS และ reactive nitrogen species: RNS) ที่เกิดขึ้น

– ภายในร่างกาย (เช่น เกิดจากของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญ หรือเมตาบอลิซึมของเซลล์)

– ภายนอกร่างกาย (เช่น เกิดจากมลพิษในอากาศ, ฝุ่น, ควันบุหรี่, ยาบางชนิด, ความเครียด, การติดเชื้อ, การบาดเจ็บ, การอักเสบ)

อันตรายจากอนุมูลอิสระ

อนุมูลอิสระสามารถทำร้ายเซลล์ในร่างกาย เมื่อมีปริมาณมากเกินไป (oxidative stress) ซึ่งก็จะทำให้เกิดปัญหาอื่น ๆ ตามมา เช่น

โรคจมูกอักเสบภูมิแพ้

หลอดลมอักเสบเรื้อรัง

ไอเรื้อรัง

ไซนัสอักเสบเรื้อรัง

ริดสีดวงจมูก

ผลลัพธ์จากงานวิจัยที่เพิ่มขึ้น

Acetylcysteine (NAC) สามารถกำจัดสารพิษและอนุมูลอิสระได้โดยตรง และโดยการสังเคราะห์กลูตาไธโอน

ผลที่ได้

เสริมภูมิคุ้มกันให้ร่างกาย

กำจัดพิษได้โดยตรง โดยเปลี่ยนสารพิษและอนุมูลอิสระให้เป็นน้ำ

รักษาโรคพังผืดในปอดโดยไม่ทราบสาเหตุ (idiopathic pulmonary fibrosis)

พิษที่เกิดจากการรับประทานยาพาราเซตามอลเกินขนาด

ภาวะไตวายอันเนื่องมาจากการฉีดสารทึบรังสี (contrast-induced nephropathy: CIN)

โรคไวรัสเอดส์
เบาหวาน
หัวใจ
พิษจากโลหะหนัก
โรคหลอดลมอักเสบเรื้อรัง
ถุงลมโป่งพอง
ไข้หวัดใหญ่
ไข้หวัดใหญ่สายพันธุ์ A (H5N1)
พิษต่อตับ จากการดื่มแอลกอฮอล์ หรือ จากการใช้ยาบางชนิด
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

การวิจัยล่าสุดในรูปแบบ RCT ที่วิจัยในคนไข้โควิด

วิจัยโดยทีมแพทย์จากกระทรวงสาธารณสุขประเทศรัสเซีย ได้เลือกใช้ยาoriginal Acetylcysteine ซึ่งผลิตโดยบริษัทZambon ในการทดลอง

พบว่ากลุ่มที่ใช้ยา Original ร่วมในการรักษาโควิด
ช่วยลดปอดอักเสบ และลดความรุนแรงของโควิดได้
เพิ่มระดับออกซิเจนในเลือดให้สูงกว่า
ลดการถูกทำลายของปอดได้ดีกว่า
ค่าการอักเสบ ลดลงเร็วกว่า
ลดระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล

– Latest Updates –

  • by