Home » ข่าวสาร » Home Isolation รักษา “โควิด-19” ที่บ้านด้วยตัวเอง

Home Isolation รักษา “โควิด-19” ที่บ้านด้วยตัวเอง

  • by

Home Isolation คือ การรักษาตัวที่บ้าน โดยเป็นการดูแลตัวเองเบื้องต้น ในกรณีที่รอเตียงหรือรอทีมแพทย์จากรัฐ ประสานงานมารับตัวสู่โรงพยาบาลสนาม

แนวทางปฏิบัติโฮมไอโซเลชั่น (Home Isolation) คือ กระบวนการรักษาตัวที่บ้านสำหรับผู้ป่วยที่เพิ่งพบเชื้อ และผู้ป่วยที่รักษาตัวในโรงพยาบาลมาแล้วอย่างน้อย 7-10 วัน ที่มีอาการดีขึ้น แพทย์ยินยอมให้กักตัวที่บ้านได้ โดยทั้ง 2 กลุ่ม จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้

1. อายุไม่เกิน 60 ปี
2. พักอาศัยอยู่คนเดียว หรืออยู่ร่วมกับคนอื่นไม่เกิน 1 คน
3. ไม่เป็นโรคที่เสี่ยงต่อการเกิดอาการรุนแรง เช่น โรคปอด, โรคไตเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคหลอดเลือดในสมอง, โรคอ้วน, โรคเบาหวาน ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์

โดยขั้นตอนแรกคือ การตรวจสเช็คด้วย ชุดตรวจโควิด (Antigen Test Kit) แล้วพบว่าตัวเองติดโควิด หากมีอาการน้อยหรือไม่มีอาการ แล้วหาเตียงที่โรงพยาบาลไม่ได้ หากสนใจเข้าระบบแยกรักษา ซึ่งแบ่งอาการเป็นสีดังนี้

ใช้ชุดตรวจโควิด (Antigen Test Kit) ที่ผ่านการรับรองจาก อย. ด้วยตัวเองหรือตรวจจากหน่วยตรวจโควิดเชิงรุก

ใครบ้างที่ควรใช้ชุดตรวจ Antigen Test Kit

ผู้ที่สัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั้งที่มีอาการและไม่มีอาการ

ผู้ที่เริ่มมีอาการสงสัยว่าติดเชื้อโควิด-19

ขั้นตอนการตรวจหาเชื้อโควิด-19 โดย Antigen Test Kit ด้วยตัวเอง

เคลียร์จมูก สั่งน้ำมูก (ถ้ามี) ก่อนทำการ Swab

ล้างมือให้สะอาดด้วยสบู่หรือแอลกอฮอล์เจล

ใช้ไม้ SWAB ที่มาพร้อมชุดตรวจ เก็บสารคัดหลั่งจากโพรงจมูก เงยหน้าขึ้นนิดหนึ่ง จากนั้นแยงเข้าไปในโพรงจมูกช้า ๆ แยงเข้าไปลึกประมาณ  2- 2.5 ซม. หรือ 1 นิ้ว หมุนเบา ๆ 5 รอบ

แยงจมูกอีกข้าง โดยทำเหมือนข้างแรก หมุนเบา ๆ 5 รอบ

เมื่อเก็บสารคัดหลั่งเสร็จแล้ว นำไม้ SWAB ลงไปเก็บในหลอดที่มีน้ำยาสกัดหรือน้ำยา Test  จากนั้นหมุนไม้ SWAB  5 ครั้ง เพื่อให้สารคัดหลั่งสัมผัสกับน้ำยามากที่สุด  จากนั้นนำไม้ SWAB ออกและปิดด้วยจุกฝาหลอดหยด

ตลับทดลองจะมีหลุม  เพื่อให้สามารถหยอดน้ำยาได้  โดยให้หยอดน้ำยาลงในตลับทดสอบตามจำนวนที่ชุดตรวจกำหนด (ขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อชุดตรวจ) และเมื่อหยอดเสร็จแล้วน้ำยาจะไหลไปตามแผ่นกรองที่อยู่ด้านใต้

รออ่านผล ประมาณ 15-30 นาที (ห้ามอ่านผลก่อนหรือหลังเวลาที่กำหนด)

เพิ่งได้รับเชื้อ >> จะตรวจไม่พบในชุดตรวจ Antigen Test Kit

หลังรับเชื้อ 3-5 วัน >> ตรวจพบเชื้อจากการตรวจ Antigen Test Kit แต่ในบางรายก็อาจจะยังไม่พบเชื้อ ต้องทำการตรวจซ้ำ

หลังรับเชื้อ 5-14 วัน >> ตรวจพบเชื้อจากการตรวจ Antigen Test Kit

หากหายป่วยแล้ว >>จะตรวจไม่พบในชุดตรวจ Antigen Test Kit

หากผลตรวจเป็นบวก (ติดเชื้อ) และผู้ป่วยต้องการแยกกักตัวที่บ้านให้ติดต่อ 1330 หรือกรอกข้อมูลเพื่อลงทะเบียนเข้าระบบ

ลงทะเบียน Home Isolation ได้ 3 ช่องทาง

ผู้ป่วยใหม่ ตรวจสอบช่องทางลงทะเบียนเพื่อเข้าสู่กระบวนการรักษา Home Isolation ได้แก่

1. ลงทะเบียน Home Isolation สปสช. (บัตรทอง)

ประชาชนทุกคนที่ถือสิทธิ์บัตรทอง (คลิกที่นี่) เข้ารับการรักษากับสายด่วน สปสช. 1330 กดต่อ 14 (หากต้องการกลับไปรักษาที่ต่างจังหวัด กด 1330 ต่อ 15) เพิ่มเพื่อนทาง LINE@ : @nhso กดเมนูลงทะเบียนระบบดูแลที่บ้าน Home Isolation สิ่งที่จะได้รับ ได้แก่

  1. ลงทะเบียนแล้วรอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ หลังจากจับคู่ผู้ป่วยกับคลินิกศูนย์บริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลที่จะรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยระหว่างแยกกักตัวที่บ้าน
  2. แพทย์ทำการพิจารณาผู้ป่วยอีกครั้ง หากไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย (นับเป็นผู้ป่วยสีเขียว) จะสามารถเริ่มต้นเข้าสู่ระบบการแยกกักตัวที่บ้านได้

2. ลงทะเบียน Home Isolation สปสช. (ประกันสังคม)

ผู้ที่มีสิทธิ์การรักษาประกันสังคมที่ต้องการเข้ารับการรักษา Home Isolation กด 1506 กด 6 สิ่งที่จะได้รับเช่นเดียวกันกับข้างต้น สิ่งที่จะได้รับ ได้แก่

1. ประเมินอาการผ่านวิดีโอคอล วันละ 2 ครั้ง
2. อาหาร 3 มื้อ
3. ปรอทวัดไข้ และเครื่องวัดออกซิเจนปลายนิ้ว
4. ยาฟ้าทะลายโจร และยารักษาพื้นฐาน
5. ได้รับการส่งตัวรักษาต่อ เมื่ออาการแย่ลง

3. ลงทะเบียน Home Isolation FMCoCare

FammedCocare เป็นอีกหนึ่งช่องทางสำหรับผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องการเข้าสู่กระบวนการรักษาตัวด้วยตัวเองที่บ้าน ผ่านช่องทางการลงทะเบียน Home Isolation ที่ LINE@ : @fammedcocare เป็นความร่วมมือจากแพทย์เครือข่ายเวชศาสตร์ครอบครัว ดูแลผู้ป่วยโควิดที่บ้านในเขตกรุงเทพฯและปริมณฑล

ลงทะเบียนแล้วรอเจ้าหน้าที่ติดต่อกลับ หลังจากจับคู่ผู้ป่วยกับคลินิกศูนย์บริการสาธารณสุข หรือโรงพยาบาลที่จะรับหน้าที่ดูแลผู้ป่วยระหว่างแยกกักตัวที่บ้าน
แพทย์ทำการพิจารณาผู้ป่วยอีกครั้ง หากไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อย (นับเป็นผู้ป่วยสีเขียว) จะสามารถเริ่มต้นเข้าสู่ระบบการแยกกักตัวที่บ้านได้

ยาที่ควรจะมี หรือสามารถซื้อไว้ติดบ้านได้

1. ยาประจำตัว สำหรับผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัว 

ควรวางแผนเรื่องของยาให้มียาทานต่อเนื่อง 1-2 เดือน เพื่อลดการเดินทางไปโรงพยาบาล และลดการกำเริบของโรค

2. ยาพาราเซตามอล 

โดยให้กินยาพาราเซตามอลทันทีเมื่อมีไข้ หรือมีไข้สูงเกิน 37 องศาเซลเซียส เนื่องจากนอกจากอาการโควิด-19 การมีไข้สูงอาจทำให้เกิดอันตรายได้ เช่น หัวใจเต้นเร็ว ร่างกายอ่อนเพลีย หรือร่างกายขาดน้

3.ฟ้าทะลายโจร

เป็นยาช่วยบรรเทาอาการที่ไม่รุนแรง แต่ไม่ได้ช่วยป้องกันการป่วยจากโควิด-19 ใช้ในผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำต่อการเกิดโรครุนแรง หรือผู้ป่วยกลุ่มสีเขียว ใช้เมื่อเริ่มมีอาการป่วยเล็กน้อย เช่น คัดจมูก มีน้ำมูก ไม่ควรกินเกินวันละ 180 มิลลิกรัม แบ่งกินวันละ 3-4 ครั้ง


ข้อควรระวัง :

ไม่ควรกินเกิน 5 วัน หลังกินยาฟ้าทะลายโจรไป 3 วันหากอาการไม่ดีขึ้น ควรพบแพทย์
ไม่ควรกินยาฟ้าทะลายโจร ร่วมกับยาบางชนิด เช่น ยาต้านการแข็งตัวของเลือด หรือยาลดความอ้วน
ควรเลือกซื้อยาฟ้าทะลายโจรที่ผ่านการรับรองจาก อย.เท่านั้น

ยาละลายเสมหะ ในกลุ่ม N-Acetylcysteine [NAC] ที่มีอยู่ใน Fluimucil A600

มีงานวิจัยล่าสุดจากที่ใช้กับผู้ป่วยโควิด โดยทีมแพทย์กระทรวงสาธารณะสุข ประเทศรัสเซีย ที่ใช้ยา N-Acetylcysteine [NAC] ของยาต้นแบบ Acetylcysteine ให้คู่กับรักษาโควิด ผลที่ได้รับพบว่ากลุ่มที่ใช้ Acetylcysteine ต้นแบบ ร่วมกับยาโควิดในการรักษา ผู้ป่วยฟื้นตัวไวกว่าผู้ที่ไม่ได้ใช้ Acetylcysteine ยาต้นแบบ นอกจากนั้นในการวิจัยครั้งนี้ยังช่วยเรื่อง

ยังช่วยลดอาการปอดอักเสบ

ลดความรุนแรงของการติดเชื้อโควิดได้

ระดับออกซิเจนในเลือดเพิ่มขึ้นสูงกว่า

ลดการถูกทำลายของปอดได้ดีกว่า

ค่าการอักเสบ ลดลงเร็วกว่า

ลดระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาล

5.ผงเกลือแร่ ORS (Oral Rehydration Salts)

  สารที่ช่วยทดแทนการสูญเสียเกลือแร่ มีคุณสมบัติในการช่วยเพิ่มพลังงาน และเกลือแร่จากอาการท้องเสีย หรือ อาเจียน ให้ชงเกลือแร่ ORS ผสมน้ำต้มสุก น้ำสะอาด จิบเรื่อยๆ ทั้งวัน (ในผู้ป่วยที่เป็นโรคไตและโรคหัวใจควรปรึกษาแพทย์ก่อน)

6.ยาแก้แพ้ Fexofenadine

เป็นยาที่มีฤทธิ์ช่วยลดน้ำมูก สามารถมีติดบ้านได้ แต่ให้ทานเท่าที่จำเป็น หรือใช้ภายใต้คำแนะนำของแพทย์

7.ยาลดน้ำมูก Chlorpheniramine หรือ CPM

เป็นยาเพื่อช่วยลดเสมหะ ช่วยให้หายใจสะดวกขึ้น สามารถบรรเทาอาการได้ ในคนที่มีอาการเยอะ
ข้อควรระวัง
 : หากเป็นผู้ป่วยโรคไต หรือ โรคตับบางอย่างที่มีข้อห้ามในการใช้ก็ต้องระมัดระวัง

อ้างอิง : 
https://www.thairath.co.th
https://www.nhso.go.th
https://www.sanook.com
https://mahidol.ac.th
https://vichaivej-nongkhaem.com

– Latest Updates –