N-acetylcysteine กับการติดเชื้อด้วยไวรัส
มีการศึกษาที่แสดงว่า N-acetylcysteine มีฤทธิ์ต้านเชื้อไวรัสได้โดยตรง
โดยลดการสร้างสารสื่อการอักเสบและยับยั้งการตายของเซลล์ macrophages ที่ติดเชื้อไวรัส (Ghezzi et al., 2016; Wu H et al., 2014; Zhang R-H et al., 2018)
ทำให้ B-cell และ T-cell ตอบสนองต่อการกระตุ้นในระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายดีขึ้น (Boon et al., 2002; Hui DSC, 2012) และช่วยเพิ่มการแบ่งตัว และเพิ่มประสิทธิภาพของ
T-cell (Eylar E et al., 1993)
สาเหตุหลักของการเจ็บป่วยจากการติดเชื้อไวรัส เกิดจากสารอนุมูลอิสระที่สร้างจากเซลล์ phagocytes ซึ่งก่อให้เกิดการอักเสบและการเปลี่ยนแปลงในการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย (Rouse et al.,1986)
จากการศึกษาของ De Flora และคณะในปี 1997 ในผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ พบว่ากลุ่มที่ได้รับ N-acetylcysteine 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน มีอาการและความรุนแรงของไข้หวัดใหญ่ลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และในกรณีการใช้เพื่อป้องกันอาการ ในผู้ป่วยที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่ พบว่าเห็นผลได้ชัดเจนโดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงฤดูหนาว ซึ่งเป็นช่วงที่มีการเกิดโรคระบบทางเดินหายใจและไข้หวัดใหญ่สูงที่สุดในยุโรป และนอกจากนั้นยังพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับ N-acetylcysteine จะมีระยะเวลาครองเตียงสั้นกว่ากลุ่มที่ได้รับยาหลอกอย่างมีนัยสำคัญ (De Flora et al., 1997)