ในช่วงการระบาดหนักของเชื้อไวรัสโควิด-19 หลายคนคงอาจจะพารานอย คิดว่าตัวเองติดหรือยัง? จะระวังยังไง? สงสัยว่าตนเองมีอาการอยู่ในกลุ่มไหน? อาการหนักหรือไม่? เชื้อไวรัสจะลงปอดหรือยัง? เกิดการวิตกจริตไปตามๆ กัน ในช่วงการระบาดหนักของเชื้อไวรัสโควิด-19 ประจวบกับระหว่างที่รอวัคซีนป้องกันโควิด-19 ทางเลือก mRNA ไม่ว่าจะเป็นของ วัคซีนโมเดอร์นา (MODERNA VACCINE) , วัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) หรือแม้กระทั้ง ยารักษาโควิดชนิดเม็ดตัวใหม่ที่พึ่งคิดค้นได้ เมื่อไม่นานนี้ ที่มีประสิทธิ์ภาพดีกว่า “ยาฟาวิพิราเวียร์” (favipiravir) โดยมีชื่อว่า “โมลนูพิราเวียร์” (molnupiravir) จากประเทศเยอรมัน

วิธีเช็คอาการเบื้องต้น ว่าเชื้อโควิด-19 ลงปอดหรือยัง?
เดินไปมา ลุกยืนหรือลุกนั่ง 3 ครั้ง หรือ กลั้นหายใจ 10 – 15 วินาที หากทำแล้วเหนื่อย และวัดออกซิเจนในเลือดได้ต่ำกว่า 94 ลงไป ให้สงสัยว่าเชื้อโควิดลงปอดไว้ก่อน
CR : นายแพทย์ธนีย์ ธนียวัน อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคปอด การปลูกถ่ายปอด และวิกฤติบำบัด สหรัฐอเมริกา
ดูแลตนเองอย่างไร? เมื่อสงสัยว่าเชื้อโควิด-19 เริ่มลงปอด!

แนะนำให้ “นอนคว่ำ” ระหว่างรอเตียง
- การนอนคว่ำ เพื่อให้ปอดไม่มีการกดทับ และทำงานได้ดียิ่งขึ้น โดยวิธีการนอนคว่ำให้กอดหมอนไว้ที่หน้าอก เพื่อให้นอนสบายขึ้น
- ผู้ป่วยบางคน หากนอนคว่ำไม่ได้ หายใจไม่ออก ให้นอนกึ่งตะแคงกึ่งคว่ำ 45 องศามาทางเตียง
- กรณีที่ตั้งครรภ์ให้นอนตะแคงด้านซ้าย เพราะจะทำให้น้ำหนักของมดลูกไม่ไปกดเส้นเลือดดำใหญ่ ทำให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก

ขยับขาบ่อยๆ เพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
พยายามเคลื่อนไหวขาบ่อยๆ เพื่อให้เลือดไหลเวียน และป้องกันการเกิดลิ่มเลือด เช่น ยืดงอขา หรือยืดเหยียดปลายเท้า เป็นต้น
ดื่มน้ำมากๆ รับประทานอาหารให้เพียงพอ
- ควรดื่มน้ำมากๆ ประมาณ 2 – 2.5 ลิตรต่อวัน แต่อย่าดื่มมากเกินไปเพราะจะส่งผลเสียทำให้เกลือแร่ในร่างกายเจือจางลง
- หากยังสามารถรับประทานอาหารได้ ให้พยายามรับประทานให้เพียงพอ
- ในกรณีที่รับประทานอาหารไม่ได้เลย ให้ดื่มน้ำเกลือแร่ทดแทน

รับประทานยาประจำตัวอย่างสม่ำเสมอ
- ไม่ควรงดการรับประทานยาประจำตัว อย่าขาดยา
- หากมีโรคประจำตัวที่ต้องรับประทานยาขับปัสสาวะอยู่ แล้วดื่มน้ำไม่ได้ ตรงนี้ให้งดยาไปก่อน
- หากรับประทานยาโรคความดันโลหิตสูงอยู่ ควรวัดความดันบ่อยๆ ถ้าพบว่าความดันต่ำกว่า 90/60 ควรงดยาความดันโลหิตสูง เพราะเราไม่ต้องการให้ความดันต่ำไปกว่านั้น ถ้าความดันต่ำมากจะอันตราย อาจช็อกหรือหมดสติได้
- หากรับประทานยาโรคเบาหวานอยู่ ควรตรวจน้ำตาลสม่ำเสมอๆ ตรวจ 4 เวลาแล้วจดไว้ ถ้าพบว่าน้ำตาลต่ำประมาณ 100 และทานอาหารไม่ได้ ทานได้น้อย ควรงดฉีดอินซูลิน หรืองดยากลุ่มที่ลดน้ำตาลในเลือด เพราะถ้ามีภาวะน้ำตาลต่ำในขณะที่ป่วยโควิดจะเป็นอันตรายได้

เตรียมยา ไว้รับประทานเวลามีอาการ
- ถ้ามีไข้ ให้รับประทานยาพาราเซตามอลเท่านั้น หากเริ่มมีไข้ต่ำๆ ให้รับประทานพาราฯ ได้เลย อย่ารอให้ไข้สูงหรือหนาวสั่น เพราะจะยิ่งทำให้ร่างกายอ่อนแอ *แต่ไม่แนะนำให้รับประทานยาลดไข้กลุ่ม NSAID เช่น ibuprofen, naproxen, mefenamic acid (Ponstan), diclofenac (Voltaren) เพราะอาจทำให้ไตวายได้*
- ยาสมุนไพรฟ้าทะลายโจร/กระชายขาว รับประทานได้แต่ต้องทานตามปริมาณกำหนดของกรมการแพทย์แผนไทย *หากทานเกินปริมาณกำหนดอาจทำให้ตับวายได้*
- ส่วนผู้ป่วยโรคตับ ห้ามรับประทาน เพราะอาจทำให้ตับวายได้ หรือผู้ที่แพ้ยาพาราเซาตามอล แนะนำให้เช็ดตัวเพื่อลดไข้

ยาละลายเสมหะ (N-acetylcysteine) หรือ NAC Long สามารถป้องกันปอดอักเสบจากโควิดได้จริงหรือ ?
มียาอีกหนึ่งกลุ่มที่ถูกพูดถึงมากในโลกโซเชียล นั้นก็คือ NAC (N-acetylcysteine) เป็นยาละลายเสมหะ
1. ฤทธิ์ละลายเสมหะ การอักเสบของทางเดินหายใจ ไม่ว่าจะเกิดจากการติดเชื้อ เช่น แบคทีเรีย, ไวรัส
2. ฤทธิ์ขับเสมหะ NAC เพิ่มการทำงานของขนกวัดของเยื่อบุทางเดินหายใจในการกำจัดเสมหะ
3. ฤทธิ์กำจัดสารพิษ และสารอนุมูลอิสระ สารพิษและอนุมูลอิสระ ที่เกิดภายในร่างกาย (เช่น เกิดจากของเสียที่เกิดจากการเผาผลาญ หรือเมตาบอลิซึมของเซลล์) และภายนอกร่างกาย (เช่น เกิดจากมลพิษในอากาศ, ฝุ่น, ควันบุหรี่, ยาบางชนิด, ความเครียด, การติดเชื้อ, การบาดเจ็บ, การอักเสบ) สามารถทำร้ายเซลล์ในร่างกาย ทำให้เนื้อเยื่อถูกทำลาย มีการอักเสบของเยื่อบุทางเดินหายใจ ทำให้ทางเดินหายใจบวม

และด้วยหนึ่งในงานวิจัยที่ว่า NAC สามารถกำจัดสารพิษและอนุมูลอิสระได้ 2 แบบ
– ฤทธิ์โดยตรง เกิดจาก thiol หรือ sulfhydryl group ของ NAC สามารถกำจัดพิษ และสารอนุมูลอิสระได้โดยตรง โดยเปลี่ยนสารพิษ และอนุมูลอิสระให้เป็นน้ำ
– ฤทธิ์โดยอ้อม NAC เป็นสารตั้งต้นของกลูธาไธโอน ซึ่งช่วยกำจัดสารอนุมูลอิสระภายในร่างกาย โดยเมื่อรับประทาน NAC เข้าไปในร่างกาย จะให้ cysteine ซึ่งเป็นสารตั้งต้นของกลูธาไธโอน
งานวิจัยล่าสุดของ NAC (N-acetylcysteine) กับ Covid-19

งานวิจัยแบบ RCT ที่กระทรวงสาธารณะสุขประเทศรัสเซีย การนำยาต้นแบบของ NAC (N-acetylcysteine) มาใช้กับผู้ป่วยที่ติดเชื้อไวรัสโควิด โดยแบ่งผู้ป่วยทั้งหมดเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มที่ 1 ผู้ป่วยโควิด-19 จำนวน 22 คน ได้รับการรักษาและให้ยาตามขั้นตอนมาตรฐานหลักของการรักษาโควิด
กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยโตวิด-19 จำนวน 24 คน ผู้ป่วย 24 รายได้รับ N-acetylcysteine ร่วมกับการรักษามาตรฐานของผู้ป่วย COVID-19

จากการศึกษาพบว่าผู้ป่วยที่ได้รับยา N-acetylcysteine ควบคู่ไปก้บการรักษามาตรฐาน มีความเข้มข้นของออกซิเจนในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ
การตรวจเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ยังพบว่า % Lung damage ลดลงอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติในผู้ป่วยที่ได้รับ N-acetylcysteine
ระดับโปรตีน C-reactive ที่บ่งบอกถึงการอักเสบ ก็ลดลงอย่างมีนัยสำคัญเมื่อเทียบกับกลุ่มการรักษามาตรฐาน
ระยะเวลาการรักษาตัวในโรงพยาบาลในผู้ป่วยที่ได้รับ N-acetylcysteine พบว่าระยะเวลาการนอนโรงพยาบาลลดลงเมื่อเทียบกับกลุ่มควบคุม
ผลการศึกษาบ่งชี้ถึงประสิทธิภาพของ N-acetylcysteine ในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่เกิดอาการปอดอักเสบร่วมด้วย ซึ่งจากฤทธิ์ทางเภสัชวิทยาของ N-acetylcysteine มีความเป็นไปได้ที่จะช่วยยับยั้งการลุกลามของโรคโควิด-19
CR : สามารถอ่านข้อมูลการศึกษาโดยละเอียดได้ในวารสาร Russian “Pulmonology”
– Latest Updates –
- เสมหะแต่ละสี บอกถึงอาการของโรคร้ายต่างๆ ได้อย่างไร
- PLU-LIS refreshing mouth Spray
- ปัสสาวะแสบขัด อย่าปล่อยไว้ อาจอันตรายถึงชีวิต?
- ทำความรู้จักอาการคออักเสบ เจ็บคอจากไวรัส
- อาการ กลืนน้ำลายแล้วเจ็บคอ ดูแลอย่างไร ?
- ข้อสงสัยและข้อควรระวังในการใช้ยา N-Acetylcysteine หรือ NAC
- ทำความรู้จักกับยา Original และยา Generic
- การบรรยาย เรื่อง “การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะในหญิงตั้งครรภ์ ที่หลายคนมองข้าม”