Skip to content
Home » ข่าวสาร » โอไมครอน หรือ โอมิครอน มีอาการอย่างไร น่ากลัวแค่ไหนกัน ?

โอไมครอน หรือ โอมิครอน มีอาการอย่างไร น่ากลัวแค่ไหนกัน ?

  • by

การระบาดของไวรัสกลายพันธุ์ โควิด 19 สายพันธุ์ ​B.1.1.529  โดยทาง WHO หรือองค์การอนามัยโลก ได้ให้ชื่อว่า โอไมครอน Omicron ประกาศยกระดับให้เป็นสายพันธุ์ระดับที่น่ากังวล (Variants of Concern: VOC) สายพันธุ์ใหม่ล่าสุด มีการกลายพันธุ์ของยีนมากขึ้นถึง 50 กว่าตำแหน่ง และ 32 ตำแหน่งเปลี่ยนเป็นหนามแหลม Spike Protein ในจุดนี้เป็นจุดเข้าสู่ร่างกายมนุษย์ โดยจะเข้าจับยึดกับร่างกายมนุษย์ถึง 10 ตำแหน่ง ในขณะที่เชื้อโควิดกลายพันธุ์เดลตา (Delta) มีการกลายพันธุ์ในส่วนนี้เพียง 2 ตำแหน่งเท่านั้น ทำให้อาจหลบหลีกภูมิคุ้มกันของร่างกายมนุษย์ได้ดีมากยิ่งขึ้น ถึงแม้จะฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม

จุดที่น่ากลัวในการกลายพันธุ์ของโอไมครอน หรือโอมิครอนครั้งนี้ คือ ?

ทำให้เชื่อกันว่าไวรัสจะสามารถแพร่กระจายได้เร็วกว่าสายพันธุ์เดลตา

สามารถเข้าสู่ระบบร่างกายมนุษย์ได้ง่ายขึ้น

อาจจะหลบภูมิคุ้มกันได้มากขึ้น

มีแนวโน้มต้านประสิทธิภาพวัคซีน

คนที่เคยติดเชื้อโควิด-19 มีโอกาสที่จะติดเชื้อซ้ำได้จากโควิดสายพันธุ์โอไมครอน

ความรุนแรงของโควิดกลายพันธุ์ตัวนี้ ยังไม่แน่ชัดว่าจะทำให้การเจ็บป่วยหรือการติดเชื้อรุนแรงขึ้นหรือไม่

อาการของผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน หรือโอมิครอน มีดังนี้

อาจมีอาการไม่สบายแค่ 1-2 วัน

จมูกยังสามารถได้กลิ่น ลิ้นรับรสได้ดี

ไม่ค่อยมีไข้

รู้สึกล้า และปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ

มีอาการไอเล็กน้อย ระคายคอ

อาการยังไม่ชัดเท่าสายพันธุ์อื่น

ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน โรคหัวใจ หากติดเชื้ออาจทำให้มีอาการรุนแรง

อาการโดยรวม เบื้องต้นพบว่าไม่รุนแรง สามารถรักษาที่บ้านได้

งานวิจัยล่าสุดจากสก็อตแลนด์ เทียบสัดส่วนผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.-19 ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยทีมวิจัยใช้ข้อมูลจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา จำนวน 126,511 คน โดยเป็นผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 856 คน ขณะที่ข้อมูลจากผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์โอไมครอน 23,840 คน พบผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทั้งสิ้น 15 คน

โดยข้อมูลเหล่านี้เมื่อนำมาคำนวณเพิ่มเติมร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ทำให้นักวิจัยชี้ว่า หากไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนมีความรุนแรงแบบเดียวกับสายพันธุ์เดลตาจริง จำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนที่ต้องเข้าโรงพยาบาลควรสูงกว่า 15 คน แต่น่าจะอยู่ที่ 47 คน

จากข้อสรุปดังกล่าวทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนน่าจะลดความเสี่ยงการป่วยเข้าโรงพยาบาลได้ถึง 2 ใน 3 เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลตา ซึ่งก็สอดคล้องกับงานวิจัยหลายชิ้นก่อนหน้านี้ที่ตั้งสมมุติฐานว่า โควิดสายพันธุ์โอไมครอน อาจมีฤทธิ์รุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา

ด้านคุณหมอมนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านระบบการหายใจ โรงพยาบางวิชัยยุทธ ได้ให้ความเห็นว่า

เชื้อไวรัสโควิด-19 กลายพันธุ์โอไมครอน มีวิวัฒนาการเปลี่ยนไปจากเดิมมาก ปรับตัวเองให้เข้ากับคนได้ดียิ่งขึ้น แพร่จากคนสู่คนง่ายขึ้น ลดระยะฟักตัว และเปลี่ยนจากการก่อให้เกิดโรคทางเดินหายใจอักเสบทั้งส่วนบนและส่วนล่างรุนแรงเฉียบพลัน

กลายเป็นเชื้อโคโรนาไวรัสที่ทำให้เกิดหวัดเล็กธรรมดา ไม่รุนแรง เป็นโรคติดเชื้อทางเดินหายใจส่วนบน ไม่ค่อยลงปอด เหมือนกับเชื้อโคโรนาไวรัสที่เรารู้จักมานานอย่างน้อย 50 ปีแล้ว ได้แก่ human coronavirus-229 E, human coronavirus-NL63, human coronavirus-OC43 และ human coronavirus-HKU1

ส่วนในต่างประเทศ แพทย์กระทรวงสาธารณะสุข รัสเซีย ได้แสดงผลงานการวิจัยในการรักษาผู้ป่วยโควิด ซึ่งเชื้อโควิด-19 มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส SARS-COV-2 นำไปสู่ระบบอวัยวะภายในร่างกายล้มเหลว และเสียชีวิต การรักษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอในการลดอัตราการเสียชีวิต โดยเฉพาะในผู้ป่วยสูงอายุ รวมถึงวัคซีนยังมีประสิทธิภาพต่ำในผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัว เช่น ความดันสูง เบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด    

ในคนไข้ที่มีอาการรุนแรงจะใช้เวลาประมาณ 7 วันนับจากวันที่เริ่มมีอาการไข้ ไอแห้ง ในการพัฒนาไปเป็นปอดอักเสบ และ อีก 2 วันในการพัฒนาไปเป็น กลุ่มอาการหายใจลำบากเฉียบพลัน (acute respiratory distress syndrome; ARDS) ซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้ผู้ป่วยโรคโควิด-19 เสียชีวิต

ภูมิคุ้มกันมีความสำคัญในการต่อสู้กับเชื้อไวรัส ระบบภูมิคุ้มกันถูกควบคุมโดยภาวะสมดุลระหว่าง อนุมูลอิสระ และสารต้านอนุมูลอิสระ โดยภาวะสมดุลถูกรักษาสภาวะให้อยู่ในระดับปกติโดยสารต้านอนุมูลอิสระ รวมไปถึง กลูตาไธโอนที่เป็นสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญในเซลล์    แต่ในเซลล์เม็ดเลือดขาวของผู้สูงอายุ และในผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่องพบว่ามีระดับ ROS ที่สูงขึ้น เนื่องมาจากมีระดับกลูตาไธโอนลดลง เป็นสาเหตุให้การตอบสนองทางภูมิคุ้มกันผิดปกติ โดยเฉพาะการทำงานของ T cell ทำให้พบผู้สูงอายุมีจำนวนผู้เสียชีวิตที่สูงกว่า  นอกจากการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวที่แย่ลง ยังพบว่าจำนวนของเซลล์เม็ดเลือดขาวก็ลดลงแปรผันตามอายุ และ โดยเฉพาะในผู้ป่วยโควิดระดับรุนแรง พบว่า T cells มีจำนวนลดลงด้วยเช่นกัน เนื่องจากเกิด T cell apoptosis  ดังนั้นการเสริมสารต้านอนุมูลอิสระในระดับหนึ่ง จึงอาจช่วยให้การตอบสนองของเซลล์เม็ดเลือดขาวกลับมาเป็นปกติ  ทำให้ลดโอกาสที่จะเกิดปอดอักเสบ หรือลดความรุนแรงของปอดอักเสบจากการติดเชื้อไวรัสได้

NAC vs ผู้ป่วยโควิด19

โดยทางแพทย์ได้นำการอ้างอิงของงานวิจัยเหล่านี้ มาทำทำการขยายการวิจัยเพิ่มเติมในกรณีของผู้ป่วยโควิด19 ในงานวิจัยของ Randomized controlled trial ในการทดลองกับคนไข้โควิดที่ปอดอักเสบระดับความรุนแรงปานกลาง มีการใช้ยาต้นแบบที่มีชื่อสามัญว่า NAC หรือ N-acetylcysteine ชื่อทางการค้าคือ Fluimucil A600

ส่วนหนึ่งในเอกสารทางงานวิจัย :
Shi, Z. and Puyo, C.A. (2020). N-acetylcysteine to Combat COVID-19: An Evidence Review. Therapeutics and Clinical Risk Management, Volume 16, pp.1047–1055.

โดยใช่ร่วมกับยารักษาหลัก พบว่าคนไข้โควิดกลุ่มที่ได้รับ NAC ร่วมในการรักษา มีผลการรักษาที่ดีกว่าอย่างมีนัยสำคัญ ได้แก่ ระดับออกซิเจนในเลือด, ความเสียหายที่ปอด, ค่าการอักเสบ และระยะเวลารักษาตัวในโรงพยาบาล

ซึ่งในประเทศไทยมียาในกลุ่มของ NAC มีชื่อสามัญว่า N-acetylcysteine หรือเรียกสั้นๆว่า NAC หลากหลายยี่ห้อมาก เช่น Nac long , Flemex-AC OD , Muclear , Fluimucil A600 และ Fluimucil A200 โดสการทานเพื่อช่วยในการสร้างภูมิคุ้มกันและลดความรุนแรงจากโรค คือ วันละ 1,200 มิลลิกรัม ข้อจำกัดของยากลุ่ม NAC หรือ N-acetylcysteine คือ จะไวต่ออากาศมาก เมื่อเปิดแล้วควรรีบปิดบรรจุภัณฑ์ เพราะเมื่อโดนอากาศมากขึ้น จะทำให้เกิดการ อ๊อกซิเดชั่น ( Oxidation ) ทำให้ประสิทธิภาพของยาลดลงได้ ดังนั้นทางที่ดีควรเลือกแบบ แยกเม็ด ต่อ เม็ด จะง่ายในการทานมากกว่า และลดการสัมผัสอากาศได้ดีอีกด้วย เพื่อการออกฤทธิ์ได้เต็มประสิทธิ

วัคซีนเข็ม 3 จำเป็นไหม แล้วจะได้วัคซีนพาสปอร์ตหรือเปล่า ?

ในสถานการณ์การระบาดในช่วงนี้ เราควรดูแลตัวเองให้มากขึ้น ปฏิบัติตามมาตรการในการป้องกันอย่างเคร่งครัดใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาที่ออกนอกบ้าน ล้างมือทุกครั้งที่จับอุปกรณ์เครื่องใช้ ในพื้นที่สาธารณะ หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด และอากาศปิด โดยเฉพาะในช่วงเทศกาล หมั่นดูแลสุขภาพให้แข็งแรง ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ เพื่อการมีภูมิคุ้มกันให้ร่างกายที่แข็งแรงเสมอ สำหรับ ท่านใดที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีน ควรลงทะเบียนและฉีดให้เรียบร้อย ควรได้รับวัคซีนให้ครบโดส เพื่อลดความรุนแรงของอาการจากการติดเชื้อ ใครที่ยังไม่ได้เริ่มฉีดวัคซีนเลย ควรรีบลงทะเบียนฉีด และผู้ที่ฉีดครบ 2 เข็มแล้วก็ควร ตรวจสอบระยะเวลาในการเข้าการฉีดวัคซีนเข็ม3 เพราะการฉีดวัคซีนเข็ม3 ถือว่าเป็นเข็มบูทเตอร์ หรือเร่งประสิทธิภาพการป้องกันให้มากยิ่งขึ้น อีกทั้งในปัจจุบันการฉีดวัคซีนครบจะถูกบันทึกลงใน วัคซีนพาสปอร์ต สำหรับใช้ในการแสดงตัวเข้าในสถานที่ต่างๆ อีกด้วย ถือว่าเป็นอีกหนึ่งปัจจัยสำคัญในการใช้ชีวิตในยุค New Normal ไวรัสครองเมือง ใครที่ยังไม่มีวัคซีน พาสปอร์ต ควรรีบไปฉีดวัคซีนให้ครบทั้ง 3 เข็ม

– Latest Updates –

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
error: Content is protected !!