Skip to content
Home » ข่าวสาร » รู้จักกับอาการผิวแห้งตามข้อพับ และวิธีรักษา

รู้จักกับอาการผิวแห้งตามข้อพับ และวิธีรักษา

  • by

ดูผิวเผินอาจดูไม่ใช่โรคที่รุนแรง  แต่หารู้ไม่ว่าอาการคัน นอกจากส่งผลเสียต่อคุณภาพชีวิตและสร้างความรำคาญใจให้กับผู้ป่วยได้แล้ว เช่น ทำให้เสียสมาธิ รบกวนการทำงาน การนอน

ที่สำคัญผู้ป่วยที่มีการแกะเกามาก อาจมีการติดเชื้อแบคทีเรียแทรกซ้อนบริเวณผิวหนัง  ซึ่งจะนำไปสู่โรคผิวหนังอื่นๆ  ที่รุนแรงตามมาได้   ส่วนใหญ่สาเหตุเริ่มต้นของอาการคัน คือ ผิวหนังแห้ง  ตามตัว ตามข้อพับ

ชนิดของอาการคัน (Pruritus) หรือผิวแห้งคันตามตัว

1. อาการคัน ยุบยิบ ตามตัว แบบเฉียบพลัน  มีอาการคันเป็นมาไม่เกิน 1 สัปดาห์          
2. อาการคันเรื้อรัง มีอาการเป็นมานานเกิน 1 สัปดาห์ถึงหลายเดือน

เชื้อที่ทำให้เกิดอาการคันตามตัว และข้อพับ

แบ่งเป็นการติดเชื้อเป็น 2 ชนิด

การติดเชื้อกลาก (Dermatophytosis)

การติดเชื้อยีสต์ (Candidiasis)

ทั้งสองกรณีจะมาด้วยอาการผื่นแดงคัน แตกต่างกันที่ลักษณะของผื่น การติดเชื้อกลากจะพบผื่นลักษณะปื้นแดง มีขุย ขอบชัดเป็นวง (Active border) ในขณะที่การติดเชื้อยีสต์จะพบผื่นแดงเข้ม แฉะ และมีตุ่มรอบๆ การติดเชื้อทั้งสองชนิดนี้จะพบได้บ่อยในผู้ที่เหงื่อออกมากบริเวณซอกพับ คนอ้วน ผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน และผู้ที่มีซอกพับเปียกน้ำบ่อยเช่นผู้ที่เท้าย่ำน้ำ สามารถสังเกตได้จากลักษณะของผื่น รวมทั้งการตรวจเชื้อจากบริเวณผื่นผิวหนัง   นอกจากนี้โรคผิวหนังอักเสบตามซอกพับบางชนิดหากปล่อยไว้นาน อาจมีการติดเชื้อราซ้ำซ้อน

วิธีการรักษาอาการคันผิวหนังแห้ง

อาการผื่นผิวหนังอักเสบ สามารถใช้ยาลดการอักเสบได้

อาการติดเชื้อราที่ผิวหนัง ควรใช้ยาที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา โดยเป็นยากลุ่ม Imidazoles เช่น Clotrimazole, Miconazole, Econazole, Ketoconazole,Fluconazole และ Itraconazole    มีฤทธิ์ครอบคลุมเชื้อราได้หลายชนิดรวมทั้งเชื้อกลากและเชื้อยีสต์

หากเป็นการติดเชื้อราตามซอกพับ เช่น รักแร้ ใต้ราวนม ขาหนีบ ง่ามมือ ง่ามเท้า  ควรใช้ชนิดแป้งโรย เพราะมีคุณสมบัติดูดซับความชื้นที่ผิวหนังทำให้ผิวหนังบริเวณที่ใช้แห้งและลดปัจจัยเสริมของการเจริญของเชื้อราได้แก่ ความชื้น การใช้ยาต้านเชื้อราชนิดภายนอกควรใช้อย่างต่อเนื่องหลังจากผื่นหายแล้ว 2 สัปดาห์

การป้องกันอาการคันตามข้อพับ

การติดเชื้อราที่ซอกพับสามารถกลับเป็นซ้ำได้ โดยเฉพาะในผู้ที่อ้วนและเหงื่อออกมาก  ควรดูแลผิวหนังในบริเวณข้อพับให้สะอาด และลดการหมักหมมของเหงื่อ   หลีกเลี่ยงการสวมใส่เสื้อผ้าและกางเกงที่รัดแน่นเกินไป รวมถึงเครื่องแต่งกายอื่นๆ ที่อับชื้นง่าย  เช่น ถุงเท้าและรองเท้า

สรุปอาการคันตามข้อพับ คันตามตัวผิวแห้ง

อาการคันผิวตามข้อพับ  อาจเป็นได้ทั้งผิวหนังอักเสบและการติดเชื้อรา  ควรสังเกตอาการและเลือกใช้ยาที่ตรงกับอาการ   หากเป็นผิวหนังอักเสบควรใช้ยาลดการอักเสบของผิวหนัง   หากเป็นเชื้อราและเป็นไม่มากอาจใช้ยาทาภายนอก เช่นยาต้านเชื้อราชนิดครีมหรือชนิดแป้งโรย นอกจากนี้ยาต้านเชื้อราชนิดแป้งโรย ยังสามารถใช้ป้องกันการกลับเป็นซ้ำ

    อาการคันตามตัว   ยังมีสาเหตุอื่น ๆ อีกที่เกิดจากได้หลายปัจจัยโดยเฉพาะในกลุ่มที่มีอาการ ผื่นคันตามตัว หรือ อาการคันยุบยิบตามตัวไม่มีผื่น อาจมีความผิดปกติของโครงสร้างผิว  เนื่องจากมี Ceramide , NMF  น้อยกว่าปกติ ทำให้ผิวมีปัญหาเกิดการแพ้ได้ง่าย และผิวแห้งคันตามตัว 

1.โรคทางผิวหนังจากปัจจัยต่าง ๆ


 –  ภาวะผิวแห้งจากอายุที่เพิ่มมากขึ้น  เนื่องจากการเสื่อมสภาพในการทำงานของต่อมไขมันที่ผลิตได้น้อยลง  ทำให้เกราะป้องกันผิวอ่อนแอ  ความสามารถในการป้งอกันผิวจากสภาวะแวดล้อมได้แย่ลง  ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่าย 


–  อากาศ  เมื่ออากาศเย็นลง ความชื้นในอากาศจะลดลง ทำให้ผิวสูญเสียความชุ่มชื่นและแห้งง่าย หากไม่ดูแลและปล่อยให้ผิวแห้งไปนาน ๆ จะทำให้เกิดภูมิแพ้ผิวหนัง มีผื่นแดงคันอักเสบหรืออาจไปกระตุ้นให้เกิดผื่นผิวหนังบางชนิด เช่น ต่อมไขมันอักเสบบริเวณผิวหนังหรือโรคเซ็บเดิร์ม (Seborrhiec Dermatitis) สะเก็ดเงิน


– สาเหตุจากโรคผิวหนังต่าง ๆ  โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง โรคผิวหนังอักเสบ โรคลมพิษ โรค ผื่นจากแมลงกัดต่อย ตุ่มยุงกัด การติดเชื้อราที่ผิวหนัง และโรคหิด ตลอดจนอาการคันจากการแพ้สารที่สัมผัสผิวหนัง  และในรายที่รุนแรงอาจเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียร่วมด้วย  โดยทำให้เกิด  ผื่นคันตามตัว

          2. โรคทางระบบอื่นๆของร่างกาย เช่น ภาวะไตวายเรื้อรัง ภาวะดีซ่าน โรคตับอักเสบเรื้อรัง โรคเบาหวาน ภาวะไทรอยด์เป็นพิษ โรคมะเร็งเม็ดเลือด และหรือสาเหตุที่เกิดจากยาที่รับประทาน เป็นต้น

          3. โรคทางระบบประสาท อาการคันตามตัว  อาจพบได้ในโรคปลายประสาทอักเสบจากงูสวัด และเนื้องอกในสมอง เป็นต้น อย่างไรก็ตามสาเหตุนี้พบไม่มากนัก

          4. สาเหตุทางจิตใจ ที่รู้สึกว่ามี  อาการคันยุบยิบตามตัว  หรือ ผู้ป่วยที่เข้าใจว่ามีพยาธิไชตามผิวหนัง ผู้ป่วยโรคย้ำคิดย้ำทำ หรือมีภาวะซึมเศร้า  

ผื่นคันตามตัววิธีรักษา

1. วิธีรักษาแบบจำเพาะ 
    ผู้ป่วยบางรายที่มีอาการคันตามตัวอาจต้องมีการตรวจเพิ่มเติมทางห้องปฏิบัติการ เพื่อหาสาเหตุของอาการคันให้พบ

            – การใช้ยาทาประเภทสเตอรอยด์หรือยาทาลดการอักเสบชนิดอื่นๆ ในผู้ป่วยที่มีสาเหตุของอาการคันจากผื่นผิวหนังอักเสบ  แต่ไม่ควรใช่ติดต่อกันเป็นเวลานาน  ในปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่บรรเทาอาการคัน  ที่ไม่มีส่วนผสมของสเตียรอยด์  ซึ่งจะทำให้ทาได้บ่อย  ในทุกครั้งที่มีอาการคัน

– การใช้ยาทากำจัดเชื้อรา หรือเชื้อหิด ในผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อดังกล่าวที่ผิวหนัง             
– ถ้ามีอาการข้างเคียงที่เกิดจากโรคผิวหนังเป็นหลัก  โดยเฉพาะอาการ คัน  ที่จะทำให้การเกาที่ผิว จะทำให้โรคกระจายพื้นที่บนผิวหนังเพิ่ม  และมีการอักเสบตามมา  อาจทำติดเชื้อได้ง่ายขึ้น    

2. การรักษาประคับประคอง เพื่อระงับอาการคัน ได้แก่

            – ยาต้านฮิสตามีนชนิดรับประทาน ซึ่งมีหลายชนิด ทั้งชนิดที่ง่วงและไม่ง่วง การจะเลือกใช้ยาต้านฮิสตามีนตัวใดขึ้นอยู่กับดุลพินิจของแพทย์ โดยแพทย์จะปรับยาตามความเหมาะสม ทั้งต่อตัวโรคและการตอบสนองของผู้ป่วยแต่ละราย             – การใช้ผลิตภัณฑ์เพื่อเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวหนัง ในผู้ป่วยที่เป็นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง และผู้ป่วยที่มีผิวแห้ง ควรใช้ผลิตภัณฑ์ที่ลดอาการคัน  เพื่อลดการเกาที่ผิว  สามาถทาได้บ่อย  และทำให้ผิวแข็งแรง ฟื้นตัวได้ไว  มีกำแพงผิวป้องกันการติดเชื้อโรคหรือเชื้อไวรัสอื่นๆ ได้ ข้อสังเกตคือ  ผลิตภัณฑ์ชนิดนั้น ควรมีสารเลียนแบบโครงสร้างผิว  ทดแทน เติมเต็ม สารใต้ผิวที่ขาดไป  เช่น Ceramide, NMF 

 – การฉายแสงอาทิตย์เทียม (phototherapy) ซึ่งใช้ในบางภาวะ เช่นโรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง สะเก็ดเงิน และภาวะไตวายเรื้อรัง ที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาแบบปกติ

 – พฤติกรรมบำบัด เพื่อลดอาการเครียด และควบคุมพฤติกรรมการเกา

ข้อมูลอ้างอิง  :

1. คันตามซอกพับ…สัญญาณเตือนของการติดเชื้อรา  ผศ.นพ.วาสนภ วชิรมน    แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังคณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบด

2. อาการคัน (Pruritus)   พญ.อรจุฑา ชัยวนนท์   ศ.พญ.กนกวลัย กุลทนันทน์   ภาควิชาตจวิทยา   Faculty of Medicine Siriraj Hospital  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล

– Latest Updates –


เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
error: Content is protected !!