Skip to content
Home » ข่าวสาร » โรคผื่นผิวแห้ง ดูแลอย่างไร ??

โรคผื่นผิวแห้ง ดูแลอย่างไร ??

  • by

โรคผื่นบริเวณผิวหนังเป็นอย่างไร ??

คือภาวะที่เริ่มมีอาการผิดปกติบนผิวหนัง โดยเริ่มที่มีผื่นแดง มีอาการคันร่วมด้วย สามารถเกิดขึ้นได้ทุกจุดของร่างกาย ภาวะนี้ไม่ใช่โรคติดต่อและสามารถรักษาได้ด้วยการทาครีม ขี้ผึ้ง หรือใช้แชมพูที่มีส่วนผสมของยา หรือสารสกัดจากธรรมชาติ ที่มีฤทธิ์ในการช่วยดูแล และ เติมเต็มสารใต้ผิวให้เกิดความสมดุล และลดความแห้งกร้าน ที่เป็นเริ่มต้นหลักๆ ของปัญหาผิวต่างๆ

ผิวแห้งเรื่องง่ายๆ ที่ถูกละเลยการดูแล

ปัญหาของผิวแห้ง คือการสูญเสียสมดุลในผิว สารใต้ผิวที่เกิดจากธรรมชาติของร่างกายผลิต ลดน้อยลง ทำให้ความสามารถในการปกป้องเซลล์ส่วนดังกล่าวอ่อนแอ เสมือนกำแพงผิวของชั้นผิวไม่สามารถป้องกันสิ่งเร้าจากปัจจัยภายนอกและภายในร่างกาย ทำให้เกิดอาการแพ้ได้ง่ายขึ้น เป็นที่โรคต่างๆ และการติดเชื้อได้ง่าย ถ้าดูแลไม่ถูกวิธี อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคที่มีความรุนแรงมากขึ้นได้

ผิวแห้งเกิดจาก

  • อายุ เมื่ออายุมากขึ้น ต่อมเหงื่อและต่อมไขมันใต้ผิวหนังจะทำงานลดลง ประกอบกับไขมันและความยืดหยุ่นของผิวหนังที่ลดลง ทำให้ผู้ที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปและผู้สูงอายุมีผิวบางและเกิดผิวแห้งได้ง่ายขึ้น
  • อาชีพ บางอาชีพส่งผลต่อผิวโดยตรง เช่น การต้องสัมผัสน้ำตลอดเวลา อย่าง ครูสอนว่ายน้ำ ช่างสระผม หรือแม้กระทั้งอาชีพที่ต้องเผชิญความร้อนจากอากาศ หรือจากเปลวไฟ ก็ส่งผลต่อผิวได้เช่นกัน
  • สภาพอากาศ อากาศที่เย็นจะส่งผลให้ผิวถูกดูดความชุ่มชื้นออกไป ซึ่งถ้าเราไม่ดูแลให้ดี อาจทำให้ผิวแห้ง ผิวแตก ได้ โดยเฉพาะในช่วงหน้าหนาว
  • พันธุกรรม ยีนส์หรือเซลล์ที่ถูกถ่ายทอดมาทางพันธุกรรมก็มีผลกับปัญหาผิวเช่นกัยน ถ้าในครอบครัวมีใครที่ผิวอยู่แล้ว เช่นแห้งหรือมีปัญหาสุขภาพผิวอ่อนแอ ก็จะส่งผลให้เป็นโรคทางผิวหนังได้ง่าย เช่น โรคผิวหนังอักเสบ (Eczema)  โรคไต ไทรอยด์  เบาหวาน
  • ปัจจัยอื่นๆ ทั้งภายนอกและภายใน เช่น ผลิตภัณฑ์ทำความสะอาดบางอย่างที่มีคุณสมบัติกำจัดน้ำมันในผิวหนัง เช่น สบู่ แชมพู น้ำยาซักผ้า รวมถึงการอาบหรือแช่น้ำอุ่นนานเกินไป และการว่ายน้ำในสระที่มีคลอรีน

สัญญาณเตือนว่าผิวเริ่มแห้ง

  1. ผิวขาดความนุ่มเนียน สัมผัสได้ถึงความกร้านบริเวณผิวชั้นนอก
  2. รู้สึกถึงความตึงของผิว
  3. เริ่มคัน มีความอยากเกา บริเวณผิว มากเกินกว่าปกติ
  4. สังเกตถึงรอยแตกร้าว เป็นร่อง บนผิวอย่างเห็นได้ชัด

อาการบอกโรค

  • ผื่นแดง
  • แห้งเป็นขุย
  • คันยุบยิบ
  • หากเป็นเรื้อรังผิวหนังจะหนาและมีรอยคล้ำ
  • คันมากขึ้นเมื่อเหงื่อออก
  • ยิ่งเกา ยิ่งคัน 

เรื่องง่ายๆ ที่ลดความเสี่ยงเป็น ผื่นผิวแห้ง

ดื่มน้ำในปริมาณที่เหมาะสมกับร่างกาย หรือพยายามจิบน้ำตลอดวัน โดยเฉพาะผู้อยู่ในห้องแอร์

หลีกเลี่ยงการอาบน้ำร้อน ถ้าในช่วงอากาศเย็น ให้อาบน้ำอุ่นแทน

เลือกใช้สบู่ที่มีค่า pH 5 ไม่มีน้ำหอม ไม่มีฟอง ไม่สารลดแรงตึงผิว

หลีกเลี่ยงการนอน หรือ อยู่ในห้องที่มีอุณหภูมิเย็นมากเกินไป เพราะอากาศที่เย็น จะทำให้ผิวแห้งได้ง่ายขึ้น

หมั่นเติมความชุ่มชื้นให้ผิว ด้วยโลชั่นที่มีส่วนผสมของเซราไมด์เข้มข้น ถ้าเลือกแบบที่มีหลากหลายชนิดได้จะเพิ่มการดูแลได้ดีมากยิ่งขึ้น เช่น เซราไมด์ 1 , 2 , 3 , 5 , 6

หลีกเลี่ยงการเกาที่ผิว เมื่อเริ่มมีอาการคันเกิดขึ้น วิธีหยุดการคันได้แบบรวดเร็วคือ หาโลชั่นที่มีความเย็น หรือมีส่วนผสมของเมนทอลมาทาในบริเวณที่คัน เพราะความเย็นจะไปทำปฏิกริยากับผิว ทำให้ลดอาการคันได้เป้นอย่างดี

โรคผิวหนังที่มีจุดเริ่มต้นจากผิวอ่อนแอ

1. ผด

ผดจะเกิดขึ้นเวลาอากาศร้อนมาก จะทำให้เหงื่อออกมาความผิดปกติของท่อเหงื่อ เกิดการอุดตันของท่อเหงื่อ ทำให้เกิดผด หรือเกิดจากการเสียดสีในร่มผ้า ซึ่งมีลักษณะเป็นผื่นแดงเล็กกระจายสม่ำเสมอ หรือบางครั้งจะเป็นเม็ดใส ๆ พบรอบ ๆ คอ หน้าผาก หน้าขา และรักแร้

2. ผื่นผิวหนังอักเสบจากเชื้อรา เช่น เกลื้อน และกลาก

กลาก ลักษณะเป็นวง มีขอบเป็นขุย จะมีอาการคันและมีผื่นแดง อาจจะลามเป็นวงออกไปเรื่อย ๆ เกิดจากความอับชื้น เช่น รักแร้ ใต้ราวนม ขาหนีบ ฝ่าเท้า ซอกนิ้วเท้า หนังศีรษะ 

เกลื้อน ลักษณะเป็นผื่นวงกลมเช่นกัน แต่จะมีหลาย ๆ วงและขุยขอบๆ ส่วนใหญ่เกิดขึ้นบริเวณลำตัว เช่น หลัง หน้าอก ท้อง ไหล่ และคอ แต่ไม่มีอาการคัน เกิดความอับชื้น จนทำให้เกิดการติดเชื้อรา และมีอาการดังกล่าว

3. ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis)

โรคผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง เกิดจากการที่มีเหงื่อเป็นตัวกระตุ้น โดยเฉพาะบริเวณที่เหงื่อออกเยอะ เช่นข้อพับแขน ข้อพับขา ใบหน้า แขน ขา ซอกคอ โดยลักษณะผื่นมักเป็นผื่นแดง แห้งลอก มีอาการคันมาก

4.”เซ็บเดิร์ม“ หรือโรคผื่นแพ้ต่อมไขมัน 

เป็นโรคเรื้อรัง ที่มีสาเหตุหลายอย่างด้วยกัน เช่น ระดับของฮอร์โมนที่แปรปรวน หรือจากเชื้อยีสต์ เชื้อราบางตัว รวมถึงจากพันธุกรรม และสิ่งแวดล้อม เป็นโรคเรื้อรังที่ไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ และส่งผลต่อชีวิตประจำวัน โดยจะส่งผลต่อจิตใจโดยตรง ทำให้ขาดความมั่นใจจากโรคผิวหนังเรื้อรัง  ลักษณะของผื่นขึ้นเพียงเล็กน้อยร่วมกับมีอาการคัน หากมีอาการรุนแรง มีลักษณะเป็นผื่นแดง ผิวหน้าเป็นขุย และนอกจากจะขึ้นบนใบหน้าแล้ว อาจเกิดขึ้นบริเวณลำตัวร่วมด้วย

5.สังคัง (Tinea Cruris)

โรคผิวหนังที่เกิดขึ้นได้กับทุกเพศทุกวัย แต่จะพบได้มากในเพศชาย โดยเฉพาะช่วงวัยรุ่นและวัยผู้ใหญ่ ส่วนใหญ่แล้วจะไม่ก่อให้เกิดอาการร้ายแรงต่อร่างกาย  จะมีอาการ คือ มีผื่นแดงอักเสบ เป็นขุย และคันตามผิวหนัง บริเวณขาหนีบ อวัยวะเพศ ต้นขาด้านใน ก้น และผิวหนังที่มีความอับชื้นสูง 

วิธีการดูแลเบื้องต้น โดยขึ้นอยู่กับประเภทและความรุนแรงของโรคที่เกิดขึ้น

เบื้องต้นต้องลดอาการคันที่บริเวณเกิดโรค เพื่อลดการสัมผัส การเกา ที่จะลุกลามไปในจุดอื่นๆ ของผิวได้ และลดการบอบช้ำของผิว ซึ่งอาจทำให้เกิดแผล ที่เสี่ยงต่อการติดเชื้ออื่นๆ ตามมา

  • ระยะเฉียบพลัน มีตุ่มน้ำและน้ำเหลือง ควรใช้ผ้าพันแผลชุบน้ำเกลือที่สะอาดประคบแผลให้น้ำเหลืองแห้งก่อนจึงตามด้วยการทายา ยาที่ได้ผลเร็วคือยาสเตียรอยด์ เมื่อผื่นหายแล้วต้องหยุดยา ไม่ควรซื้อยาสเตียรอยด์มาทานเอง เพราะจะมีผลข้างเคียงในระยะยาว
  • ระยะผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ควรใช้ยาที่ไม่มีสเตียรอยด์ทาและทานยาแก้แพ้
  • ระยะที่มีอาการรุนแรงมาก แพทย์อาจพิจารณาให้รับประทานยาสเตียรอยด์หรือฉายแสงอัลตราไวโอเลต ที่เรียกว่า Phototherapy ซึ่งช่วยกดภูมิในร่างกาย ไม่ให้ไวต่อสิ่งแวดล้อม และผลข้างเคียงน้อยกว่าการรับประทานยาสเตียรอยด์

– Latest Updates –

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ คุณสามารถศึกษารายละเอียดได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวเองได้ของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • เปิดใช้งานตลอด

บันทึกการตั้งค่า
error: Content is protected !!